Page 42 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 42
ซึ่งเป็นไปตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน รวมไปถึงแผนปฏิบัติเพื่อความก้าวหน้าของสตรี
อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ และแผนปฏิบัติการประชากรและ
การพัฒนา (จิตติมา ภาณุเดช และคณะ, ๒๕๕๐)
๒. สิทธิในคว�มเป็นส่วนตัว (Rights to Privacy)
การให้บริการด้านสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ทุกรูปแบบ ต้องเป็นการให้บริการ
โดยเคารพความเป็นส่วนตัวและยึดการตัดสินใจของผู้รับบริการเป็นหลัก รวมถึงเรื่องการคุมก�าเนิด
และการท�าแท้ง ซึ่งการรักษาความลับของผู้รับบริการถือเป็นหลักการส�าคัญอย่างยิ่ง (จิตติมา
ภาณุเดช และคณะ, ๒๕๕๐)
๓. สิทธิในก�รได้รับข้อมูลข่�วส�รและก�รศึกษ� (Rights to Information and
Education)
การมีสิทธิรับข้อมูลความรู้ที่ถูกต้อง ทันสมัย และรอบด้าน เพื่อประโยชน์สูงสุดในการตัดสินใจ
ในทุกเรื่องเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ของตนเอง ตามอนุสัญญาว่าด้วย
การขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ ข้อ ๑๐ “กำ�หนดว่�รัฐภ�คีจะใช้ม�ตรก�รที่เหม�ะสม
ทุกอย่�งเพื่อขจัดก�รเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิง เพื่อให้หญิงและช�ยมีสิทธิในก�รศึกษ�อย่�ง
เสมอภ�คกัน” (จิตติมา ภาณุเดช และคณะ, ๒๕๕๐)
๔. สิทธิในก�รตัดสินใจว่�จะมีบุตรหรือไม่และจะมีเมื่อใด (Rights to Decide Whether
or When to Have Children or Rights to Self-determination)
การมีสิทธิที่จะตัดสินใจอย่างเสรีและมีความรับผิดชอบว่าจะมีลูกหรือไม่และมีเมื่อใด โดยต้อง
ได้รับข้อมูลข่าวสารครบถ้วนรอบด้าน รวมทั้งข้อมูลข่าวสารและบริการต่างๆ ที่อ�านวยต่อความ
สามารถในการใช้สิทธิ ซึ่งทั้งนี้เป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ
ข้อ ๑๒ ที่กล่าวว่า
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ // 41