Page 46 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 46
๒.๒ กฎหมายของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ที่เกี่ยวข้องกับเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม
ในประเด็นสิทธิมนุษยชน นอกจากปฏิญญาสากลสิทธิมนุษยชน (The Universal
Declaration of Human Rights, 1948) ซึ่งแต่ละประเทศที่เป็นภาคีจะต้องปฏิบัติตาม มากไปกว่านั้น
เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ซึ่งรวมไปถึงประเทศไทย ต่างยังต้องปฏิบัติและด�าเนินการภายใน
ขอบเขตอ�านาจหน้าที่ตามข้อก�าหนดของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนระหว่างรัฐบาลอาเซียน
หรือ ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights (AICHR) ที่ก่อตั้งขึ้นใน
พ.ศ. ๒๕๕๒ ในฐานะองค์กรที่ปรึกษาของ ASEAN ซึ่งเป็นการสนับสนุนส่งเสริมและคุ้มครอง
สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานและเสรีภาพของประชาชนอาเซียน ตามปฏิญญาสากลสิทธิมนุษยชน
และปฏิญญาและแผนปฏิบัติการเวียนนา (Vienna Declaration and Program of Action, 1993)
และตราสารว่าด้วยสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ซึ่งประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นภาคี เช่น หลักการ
ข้อ ๒.๒ การเคารพหลักการด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ รวมถึงความเป็นสากล ความไม่
สามารถแบ่งแยกได้ การพึ่งพาอาศัยกันและความสัมพันธ์ที่ไม่อาจแยกจากกันได้ของสิทธิมนุษยชน
และเสรีภาพขั้นพื้นฐานทั้งมวล รวมถึงความเป็นกลาง การยึดถือวัตถุวิสัย การไม่เลือกปฏิบัติ และ
การหลีกเลี่ยงการเลือกปฏิบัติและท�าให้เป็นประเด็นทางการเมือง และ ๒.๓ ที่ตระหนักว่าความ
รับผิดชอบขั้นพื้นฐานในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานเป็นของรัฐ
สมาชิกแต่ละรัฐ (AICHR, 2009) ซึ่งเป็นหลักการที่ครอบคลุมไปถึงอนามัยเจริญพันธุ์ของประชาชน
ในแต่ละประเทศภาคี ที่รัฐบาลของแต่ละประเทศจะละเลยไม่ได้ และกฎหมายของแต่ละประเทศ
จะละเมิด เพิกเฉยต่อการคุ้มครองส่งเสริมสิทธิมนุษยชนสิทธิอนามัยไม่ได้
ในการศึกษาครั้งนี้ได้ยกตัวอย่างของกฎหมายของแต่ละประเทศภาคีมา ๓ ประเทศ ซึ่งเป็น
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอนามัยเจริญพันธุ์ของเยาวชนหญิงตั้งครรภ์โดยตรง ซึ่งจากการศึกษาพบว่า
กฎหมายของทั้ง ๓ ประเทศสะท้อนให้เห็นถึงบริบทที่แตกต่างกันมากทั้งในมิติด้านสังคม วัฒนธรรม
และศาสนา ซึ่งกรอบวัฒนธรรมความเชื่อที่แตกต่างกันซึ่งล้วนมีอิทธิพลต่อการบัญญัติกฎหมายที่
บังคับใช้ภายในรัฐ ดังนี้
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ // 45