Page 51 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 51

Hoang Ba Thin (2009) พบว่า สาเหตุที่ท�าให้อัตราการท�าแท้งในหมู่เยาวชนหญิงสูง เป็นผล

                 มาจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกันของเยาวชน ไม่มีความรู้เรื่องการคุมก�าเนิด และการมีเพศสัมพันธ์

                 ที่ปลอดภัย  รวมถึงการเข้าไม่ถึงบริการด้านสุขภาพ นอกจากนี้ Mr. Ian Howie (2008) กล่าวใน

                 การประชุมประชากรโลกเมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๐๐๘ เรื่องข้อจ�ากัดของการบริการด้านการ

                 วางแผนครอบครัวส�าหรับวัยรุ่นและเยาวชนหญิงของเวียดนามไว้ว่า “ระบบการบริการด้านสุขภาพ

                 ของประเทศเวียดนามเน้นไปที่การให้ข้อมูลและการบริการด้านอนามัยเจริญพันธุ์และการวางแผน

                 ครอบครัวแก่คู่สามีภรรยาที่แต่งงานแล้ว โดยไม่ได้ให้ความส�าคัญกับวัยรุ่นหรือเยาวชนชาย/หญิง

                 ซึ่งมีเพศสัมพันธ์เช่นกัน” (Population and Development Review, No. 8/2008, p.22)

                 นั่นหมายถึงสาเหตุที่ท�าให้มีอัตราการท�าแท้งในหมู่วัยรุ่นและเยาวชนหญิงสูงเนื่องจากการขาดการ

                 บรรลุสิทธิในการดูแลและป้องกันสุขภาพ (Rights to Health Care and Health Protection)

                 ด้านการเข้าถึงการวางแผนครอบครัว ซึ่งเป็นสิทธิที่บริการของรัฐควรจัดให้อย่างทั่วถึง เพื่อให้ผู้หญิง

                 เข้าถึงความรู้ ข้อมูลข่าวสาร (Rights to Information and Education) ที่ถูกต้องของวิธีและ

                 การบริการด้านการคุมก�าเนิด ซึ่งถึงแม้จะมีทางเลือกให้กับเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมสามารถ

                 ยุติการตั้งครรภ์ด้วยการท�าแท้งได้ก็ตาม แต่หากเยาวชนหญิงสามารถเข้าถึงข้อมูล ความรู้เรื่อง

                 วิธีการคุมก�าเนิดที่ถูกต้องและบริการด้านการคุมก�าเนิด การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยและป้องกัน

                 จะท�าให้พวกเธอมีทางออก/ทางเลือกมากขึ้น จะเห็นได้ว่า มีความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงสิทธิ

                 ด้านการดูแลและป้องกันสุขภาพของประชาชน ซึ่งลดหลั่นไปตามวัยและเพศ


                       ขณะเดียวกัน ด้านสังคมและวัฒนธรรมพบว่า อิทธิพลความคิดความเชื่อตามของลัทธิขงจื๊อ

                 ได้เข้ามามีบทบาทต่อกฎหมาย การให้ความคุ้มครองผู้หญิงและเด็ก เพราะมองว่าเป็นกลุ่มที่มีความ

                 เปราะบางจึงต้องได้รับการปกป้องคุ้มครอง ไม่ได้เป็นการดูแลเพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิในฐานะที่

                 เป็นประชากรในสังคมในระดับที่เท่าเทียมกันกับผู้ชาย ทั้งนี้เพราะสังคมและวัฒนธรรมของประเทศ

                 เวียดนามได้ก�าหนดบทบาทหน้าที่การเลี้ยงดูบิดามารดาให้เป็นของลูกชายโดยเฉพาะลูกชายคนโต

                 ในสังคมที่ได้รับอิทธิพลลัทธิขงจื๊อนั้นจะให้ความส�าคัญกับการมีลูกชายสูงมาก เพราะหวังพึ่งให้ลูกชาย

                 เป็นผู้เลี้ยงดูยามแก่เฒ่า ซึ่งเป็นวิถีปฏิบัติที่เป็นกลไกการสร้างความมั่นคงในยามสูงอายุในสังคมที่รัฐ

                 ไม่มีบทบาท หรือมีบทบาทไม่มากนักในการดูแลรับผิดชอบการดูแลผู้สูงอายุ และจะเป็นผู้สืบทอด

                 เชื้อสายของตระกูล ตลอดจนเป็นผู้น�าการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ของครอบครัว นอกจากนี้ สังคม










                             50    // ปัญหำเยำวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56