Page 52 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 52

ที่สืบเชื้อสายทางพ่อ (patrilineal) ต้องการมีลูกชายไว้สืบสกุล การไม่มีลูกชายสืบตระกูลเสมือน

                  เป็นการไม่สามารถท�าหน้าที่แก่วงศ์ตระกูลได้อย่างสมบูรณ์ครบถ้วน และเป็นการสิ้นสุดวงศ์ตระกูล

                  โดยปริยาย ส่วนลูกสาวนั้นเมื่อแต่งงานแล้วก็จะถือว่าเป็นคนของครอบครัวสามี ต้องตัดขาดจาก

                  ครอบครัวเดิมของตน (กาญจนา ตั้งชลทิพย์, ๒๕๕๑)


                        กล่าวโดยภาพรวม บทบัญญัติในกฎหมายได้สะท้อนแนวความคิดความเชื่อดังกล่าว ดังจะเห็น

                  ได้จากกฎหมาย Law on Child Protection, Care and Education ซึ่งโครงสร้างครอบครัวใน

                  อุดมคติจะประกอบด้วยคนในหลายรุ่นอาศัยอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน โดยสมาชิกในครอบครัวแต่ละ

                  คนในครอบครัวจะมีระดับความส�าคัญไปตามอายุและเพศ พ่อแม่ ผู้ปกครองจะมีอ�านาจเบ็ดเสร็จ

                  เหนือบุตร (Zhang, H.X., & Locke, C., 2002) การบัญญัติเรื่องหน้าที่ของเด็ก โดยระบุให้เด็ก

                  ต้องรัก เคารพ และเชื่อฟังผู้ใหญ่ อาจส่งผลต่อเรื่องการเข้าถึงสิทธิของเด็กที่อาจจะไม่ได้รับการเคารพ

                  หรือคุ้มครองจากกฎหมายอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กผู้หญิง ตามแนวความคิดความเชื่อ

                  ลัทธิขงจื๊อ ซึ่งเน้นความกตัญญูเป็นส�าคัญ โดยเฉพาะต่อบุพการีผู้ให้ก�าเนิดและต่อบรรพบุรุษ

                  การย้อนแย้งของกฎหมายและบริบททางสังคมและวัฒนธรรมมีผลท�าให้เกิดความไม่เท่าเทียมกัน

                  และการเลือกปฏิบัติ การเข้าถึงสิทธิของเด็ก/เยาวชนและผู้หญิงในการมีชีวิตอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี

                  ความเป็นมนุษย์ (Rights to Life) และการไม่ถูกเลือกปฏิบัติ



                         อย่างไรก็ตามจากการที่บทบาทของผู้หญิงเริ่มเปลี่ยนไป กฎหมายการสมรสและครอบครัว

                  ซึ่งประกาศใช้ในปี ๑๙๕๙ และแก้ไขในปี ๑๙๘๖ จะเห็นได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องบทบัญญัติ

                  ในการให้อิสระในการสมรส และสิทธิระหว่างผู้ชายและผู้หญิงที่เท่าเทียมกันมากขึ้น การแก้ไขให้การ

                  คลุมถุงชนเป็นสิ่งผิดกฎหมาย และเน้นความรับผิดชอบของสามีในการเลี้ยงดูลูกทั้งในระหว่างการ

                  สมรสและหลังจากที่หย่าร้างแล้ว เป็นต้น ผู้หญิงเริ่มตระหนักในสิทธิของตนเองมากขึ้น เห็นได้จาก

                  Ordinance on Population (2003) มาตรา ๑๐ บัญญัติถึงสิทธิด้านอนามัยเจริญพันธุ์ของคู่สามี

                  ภรรยาและบุคคล ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว แต่ในทางปฏิบัติการบริการด้านการวางแผนครอบครัว และ

                  อนามัยเจริญพันธุ์ไม่ได้มุ่งเน้นไปที่กลุ่มเยาวชนและประชากรที่ยังไม่ได้แต่งงาน และมีสัญญาณ

                  ที่บ่งบอกถึงอคติและการตีตราต่อเยาวชนที่ใช้บริการด้านการคุมก�าเนิดและอนามัยเจริญพันธุ์

                  โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อเยาวชนหญิง (Hoang Ba Thinh, 2009)










                                                   ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ //  51
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57