Page 43 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 43
“๑. รัฐภาคีจะใช้มาตรการที่เหมาะสมทุกอย่าง เพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีใน
ด้านการรักษาสุขภาพ เพื่อประกันการมีโอกาสได้รับการบริการในการรักษาสุขภาพ
รวมทั้งบริการที่เกี่ยวกับการวางแผนครอบครัว บนพื้นฐานของความเสมอภาคของบุรุษ
และสตรี
๒. ทั้ง ๆ ที่มีบทบัญญัติในวรรค ๑ ของข้อนี้ รัฐภาคีจะประกันให้สตรีได้รับบริการที่
เหมาะสมเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ การคลอดบุตร และระยะหลังคลอดบุตร โดยการให้บริการ
แบบให้เปล่าเมื่อจ�าเป็น รวมทั้งการให้โภชนาการที่เพียงพอระหว่างการตั้งครรภ์และ
ระยะการให้นม”
นอกจากนี้ สิทธิในการตัดสินใจว่าจะมีบุตรหรือไม่และจะมีเมื่อใด ยังได้รวมสิทธิในการเลือก
สมรส การวางรากฐานและการวางแผนครอบครัว (Rights to Choose Whether or Not to
Marry and to Found and Plan a Family) และสิทธิเสรีภาพแห่งความคิด (Rights to Freedom
of Thought) ไว้ด้วย เพื่อคุ้มครองสิทธิผู้หญิงที่จะเป็นอิสระจากการถูกบีบบังคับทางความคิด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิงมีสิทธิที่จะได้รับข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาวะทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์
รวมไปถึงสิทธิที่จะปฏิเสธการให้บริการสุขภาพที่ขัดแย้งกับความคิดความเชื่อของตน (จิตติมา
ภาณุเดช และคณะ, ๒๕๕๐)
๕. สิทธิในก�รดูแลและป้องกันสุขภ�พ (Rights to Health Care and Health
Protection)
การมีสิทธิในการตัดสินใจต่อการปฏิบัติต่อเนื้อตัวร่างกายของปัจเจกบุคคลในการดูแลรักษา
สุขภาพและการป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับสุขภาพทั้งทางกายและใจ รวมทั้งสิทธิของผู้หญิงที่จะไม่
ตกอยู่ในอันตรายจากการตั้งครรภ์, ไม่ตกอยู่ในอันตรายเพราะการท�าแท้งที่ไม่ปลอดภัย, ไม่ตกอยู่ใน
อันตรายเพราะขาดบริการสุขภาพที่ปลอดภัย ขาดบริการให้ค�าปรึกษา และไม่ตกอยู่ในอันตราย
เพราะขาดข้อมูลข่าวสารในเรื่องสุขภาพทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ ตลอดจนการได้รับ
ความเสมอภาคจากภาครัฐและสังคม ในการเข้าถึงการรักษา ดูแลสุขภาพ อย่างได้รับความพึงพอใจ
และยึดการตัดสินใจของผู้รับบริการเป็นหลัก ที่มีอิสระในการเลือกวิถีชีวิตทางเพศและการ
42 // ปัญหำเยำวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน