Page 44 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง ปัญหาเยาวชนหญิงที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับมิติสิทธิมนุษยชน
P. 44
เจริญพันธุ์โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ การบังคับ แทรกแซง ทั้งการมีเพศสัมพันธ์ ตั้งครรภ์ ท�าหมัน
รวมไปถึงท�าแท้ง ยกเว้นในกรณีที่ผู้หญิงยินยอมโดยอิสระและเต็มใจ ซึ่งสอดคล้องกับ
๑. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ ข้อ ๑๐ “ก�าหนดว่ารัฐภาคี
จะใช้มาตรการที่เหมาะสมทุกอย่างเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิง เพื่อให้หญิงและชายมีสิทธิ
ในการศึกษาอย่างเสมอภาคกัน”
๒. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ ข้อ ๑๑.๒ “รัฐบาลจะด�าเนิน
การตามมาตรการต่างๆ เพื่อป้องกันการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงในเรื่องการท�างานที่เกิดขึ้นเมื่อผู้หญิง
แต่งงานหรือตั้งท้อง”
๓. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ ข้อ ๑๒ ที่กล่าวว่า
“๑. รัฐภาคีจะใช้มาตรการที่เหมาะสมทุกอย่าง เพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี
ในด้านการรักษาสุขภาพ เพื่อประกันการมีโอกาสได้รับการบริการในการรักษาสุขภาพ
รวมทั้งบริการที่เกี่ยวกับการวางแผนครอบครัว บนพื้นฐานของความเสมอภาคของบุรุษ
และสตรี ๒. ทั้ง ๆ ที่มีบทบัญญัติในวรรค ๑ ของข้อนี้ รัฐภาคีจะประกันให้สตรีได้รับบริการ
ที่เหมาะสมเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ การคลอดบุตร และระยะหลังคลอดบุตร โดยการให้
บริการแบบให้เปล่าเมื่อจ�าเป็น รวมทั้งการให้โภชนาการที่เพียงพอระหว่างการตั้งครรภ์
และระยะการให้นม”
๔. แผนปฏิบัติการประชากรและการพัฒนา หลักการที่ ๘ ที่ว่า “คนทุกคนมีสิทธิพื้นฐานที่จะ
ตัดสินใจอย่างอิสระและรับผิดชอบในเรื่องการมีบุตร ว่าจะมีกี่คน ห่างกันกี่ปี และจะมีเมื่อไร ทั้งนี้
ต้องได้รับข้อมูลและวิธีการที่จะสามารถท�าตามที่ตัดสินใจได้” (จิตติมา ภาณุเดช และคณะ, ๒๕๕๐)
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ // 43