Page 33 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 33
6
(3) มีแนวทางอย่างไร ให้มีการน าผลการวิจัยให้หน่วยงานผู้มีส่วนรับผิดชอบไปด าเนินการ
ให้เกิดผลในเชิงปฏิบัติและสามารถแก้ไขแผนที่แนบท้ายเพื่อก าหนดขอบเขตตามความเป็นจริง
มิให้ทับซ้อนกัน
๑.๔ กรอบแนวคิด
เกี่ยวกับปัญหาพื้นที่ป่าไม้เห็นว่า ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกา
ที่ประกาศแนวเขตป่าไม้ต่างๆ ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายด้วย เมื่อเกิดการฟ้องร้องว่ามีราษฎร
บุกรุกไม่ว่าในเขตป่าไม้ ที่สาธารณประโยชน์ หรือที่ราชพัสดุ หากยังไม่มีความชัดเจนเรื่องแนวเขต
ศาลอาจจะยกฟ้องเพราะเห็นว่าราษฎรขาดเจตนาที่จะบุกรุก และมักเกิดข้อกล่าวหาว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐ
แสวงประโยชน์จากความไม่ชัดเจน จึงท าให้เกิดความเสียหายต่อหน่วยงานของรัฐและสิทธิของชุมชน
และประชาชน
ส านักแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ (สบร.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการแก้ไข
ปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ หรือ กบร. โดยด าเนินการตามระเบียบส านักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการแก้ไข
ปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ พ.ศ. 2545 มุ่งด าเนินการพิสูจน์สิทธิการครอบครองที่ดินของบุคคลในเขต
ที่ดินของรัฐ โดยสาระส าคัญสรุปว่า หากพิสูจน์ได้ว่าราษฎรครอบครองมาก่อนการเป็นที่ดินของรัฐ
ก็สามารถน าไปสู่การออกเอกสารสิทธิในที่ดินนั้นได้ แต่หากราษฎรเข้าครอบครองภายหลังการเป็นที่ดิน
ของรัฐ ก็แจ้งให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องด าเนินการเพิกถอนสิทธิ คัดค้าน ให้เช่า หรือด าเนินการอื่นใด
ตามกฎระเบียบที่มีอยู่ต่อไปแล้วแต่กรณี
นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเรื่องการรับรองแนวเขตกับหน่วยงานข้างเคียง เช่น ส านักงานการปฏิรูป
ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือ ส.ป.ก. ซึ่งควรด าเนินการตามข้อตกลงระหว่างหน่วยงานอย่างเคร่งครัด
ส าหรับการก าหนดเขตพื้นที่ตามชั้นคุณภาพลุ่มน้ า ควรมีการทบทวนหากเกิดการโต้แย้งสิทธิขึ้นในบางพื้นที่
เนื่องจากพื้นที่จริงไม่มีสภาพการเป็นลุ่มน้ าหรือมีความลาดชันแต่อย่างใด
การก าหนดแนวเขตของพื้นที่โดยภาครัฐ และใช้แผนที่แนบท้ายเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายซึ่งมิได้
ตรวจสอบพื้นที่จริงโดยละเอียดท าให้กระทบกับสิทธิของประชาชนและชุมชน ก่อให้เกิดปัญหาข้อโต้แย้ง
และเกิดคดีความอย่างมาก
การจัดท าแนวเขต หรือปรับปรุงแนวเขต หรือเปลี่ยนแปลงแนวเขต หรือ Reshape ของหน่วยงาน
ที่ดูแลรับผิดชอบด้านที่ดินได้ด าเนินการมาแล้วหลายครั้ง เสียงบประมาณไปเป็นจ านวนมาก ซึ่งด าเนินการ
โดยหน่วยงานภาครัฐโดยขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน และคุ้มครองสิทธิของชุมชนและประชาชน
พบว่ายังไม่ประสบผลและยังคงด าเนินการต่อไป
อีกทั้งการบริหารจัดการที่ดินของประเทศ เพื่อใช้ประโยชน์อย่างสมดุลต่อความจ าเป็นในการใช้
เพื่อด ารงชีพของประชาชนในด้านการเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การพาณิชย์ การท่องเที่ยว หรืออื่นๆ
รวมไปถึงความจ าเป็นที่ต้องมีการสงวนหวงห้ามที่ดินไว้เพื่อรักษาสภาพธรรมชาติ สาธารณประโยชน์ และ