Page 37 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 37
10
(2.3) การศึกษาในพื้นที่กรณีศึกษา ๗ พื้นที่ ใน ๗ จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ราชบุรี
นครราชสีมา สกลนคร ล าปาง สุราษฎร์ธานี และพัทลุง (ตามข้อ ๑.๕)
(2.4) กระบวนการศึกษา
ศึกษาสภาพปัญหาแนวเขตที่ดินและผลกระทบของปัญหาพื้นที่ทับซ้อนในพื้นที่
เป้าหมาย
ศึกษาการด าเนินการแก้ไขปัญหาของรัฐกรณีพื้นที่ทับซ้อนในช่วงที่ผ่านมา ปัญหา
และอุปสรรคที่เกิดขึ้น อาทิ การจัดท าแนวเขตและแผนที่ให้เป็นขอบเขตเดียวกัน
ของหน่วยงานภาครัฐ (รีเชฟ) การด าเนินการของรัฐต่อผู้อยู่อาศัยและท าประโยชน์
ในพื้นที่ของรัฐ
ความคิดเห็นและข้อเสนอของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ทับซ้อน
ศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาครัฐในการแก้ไขปัญหาพื้นที่
ทับซ้อนให้ได้ข้อยุติอย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรม
(2.5) วิธีการ
รวบรวมข้อมูลการด าเนินการแก้ไขพื้นทับซ้อนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่
เป้าหมาย
จัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่
เป้าหมาย เพื่อสร้างแนวทางความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาพื้นที่ทับซ้อนให้เกิด
รูปธรรมในการด าเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้ได้ข้อยุติ
สรุปสังเคราะห์ข้อมูล เพื่อจัดท าผลการศึกษาน าไปรณรงค์ผลักดันเชิงนโยบายต่อไป
๑.๗ ขั้นตอนกำรด ำเนินกำรวิจัย
ก าหนดการและแผนด าเนินการศึกษาวิจัย ดังนี้
(๑) ทบทวนงานวิจัยที่ผ่านมา รวบรวมข้อมูลและทบทวนเอกสารจากหน่วยงาน พร้อมทั้ง
กฎหมายที่เกี่ยวข้องในด้านสิทธิมนุษยชน การมีส่วนร่วมของประชาชน การคุ้มครองสิทธิ การบริหาร
จัดการที่ดินโดยตรง โดยมีขอบเขตก าหนดโดยแผนที่แนบท้ายหรืออื่นๆที่เกี่ยวข้อง
- รวบรวมข้อมูลและทบทวนเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
- รวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารการศึกษาเกี่ยวกับความเป็นมาในการจัดท าแผนที่และ
ขอบเขต สิทธิมนุษยชน การมีส่วนร่วมของประชาชน การคุ้มครองสิทธิ การบริหารจัดการที่ดินโดยตรง
และการก าหนดขอบเขตโดยแผนที่แนบท้ายหรืออื่นๆที่เกี่ยวข้อง