Page 28 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 28
บทที่ 1
บทน ำ
๑.๑ ควำมเป็นมำและควำมส ำคัญของปัญหำ
ประเทศไทยมีพื้นที่ ๕๑๓,๑๑๕ ตารางกิโลเมตร หรือ ๓๒๐.๗ ล้านไร่ เป็นที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ
ของประชาชน จ านวน ๑๒๗ ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ ๔๐ อีกร้อยละ ๖๐ ที่เหลือเป็นที่ดินของรัฐซึ่งประกอบด้วย
พื้นที่เพื่อการอนุรักษ์คุ้มครอง เพื่อกิจการของรัฐ กิจการสาธารณูปโภค พื้นที่สาธารณประโยชน์ และอื่นๆ
จ านวนประชากรในปี พ.ศ. ๒๔๕๓ มีประมาณ ๘.๑ ล้านคน ปี พ.ศ. ๒๕๐๓ มีประมาณ ๒๖.๒ ล้านคน และ
ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ มีประมาณ ๖๕.๙ ล้านคน ๒๐.๕ ล้านครัวเรือน ขนาดครัวเรือนเฉลี่ย ๓.๘ คน จากจ านวน
เนื้อที่ของประเทศยังคงมีเท่าเดิมแต่ประชากรเพิ่มจ านวนมากขึ้น ความขัดแย้งในการจัดการทรัพยากรที่ดิน
มีแนวโน้มเพิ่มความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ความต้องการใช้ประโยชน์ในที่ดินเพื่อการประกอบอาชีพและ
อยู่อาศัยซึ่งมีความจ าเป็น ได้ขยายอย่างรวดเร็วตามการเพิ่มของประชากรที่ต้องการใช้ที่ดินเพื่อท าประโยชน์
ซึ่งรัฐได้พิจารณาเห็นถึงแนวโน้มในอนาคตที่จะท าให้ที่ดินของรัฐหายไปอยู่ในมือของประชาชน จากการ
บุกรุกเข้าถือครองท าประโยชน์ จึงได้ก าหนดขอบเขตพื้นที่ของรัฐด้วยกฎหมายประกอบแผนที่แนบท้าย
เป็นขอบเขตวงรอบพื้นที่แบบกว้างๆ โดยได้รวมเอาพื้นที่ที่ประชาชนถือครองท าประโยชน์ในบางพื้นที่
เข้าไปด้วย
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการก าหนดเขตการใช้ที่ดิน รวมทั้งสิ้น ๑๙ ฉบับ รวมทั้งมติคณะรัฐมนตรี
อีกหลายกรณี มีขั้นตอนและวิธีการออกกฎหมายแตกต่างกัน ส่งผลให้มีแนวเขตที่ดินจ านวนมากที่ประกาศ
ต่างกรรมต่างวาระ ประกอบกับแผนที่แนบท้ายประกาศก็มีมาตราส่วนที่แตกต่างกัน มีการส ารวจรังวัดจริง
ในส่วนหนึ่งและใช้การก าหนดแนวเขตจากแผนที่ในส่วนหนึ่ง จึงท าให้มีการทับซ้อนกันของแนวเขตที่ดิน
และส่งผลให้มีข้อพิพาทเรื่องแนวเขตมาโดยตลอด เป็นปัญหาในทางปฏิบัติทั้งระหว่างหน่วยงาน
ของภาครัฐ ภาครัฐกับเอกชน และระหว่างภาคเอกชนด้วยกัน จากรายงานการร้องเรียนเรื่องที่ดินและป่าไม้
ถึงมกราคม ๒๕๕๗ ต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พบว่า มีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับที่ดินและ
ป่าไม้ทั้งหมด ๒๖๙ เรื่อง ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากเขตป่าไม้ทับที่ดินท ากินและที่อยู่อาศัยของประชาชน
และปัญหาความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์ที่สาธารณประโยชน์
เกี่ยวกับปัญหาที่ดินป่าไม้เห็นได้ว่า ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกา
ที่ประกาศแนวเขตป่าไม้ต่างๆ และพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายด้วย
เนื่องจากแผนที่ดังกล่าวมีมาตราส่วน ๑ : ๕๐,๐๐๐ ดังนั้น ขนาดของเส้นที่ลากเส้นก าหนดแนวเขต
เท่าปลายดินสอ ๑ มิลลิเมตร จะเท่ากับประมาณ ๕๐ เมตร ในพื้นจริง จึงท าให้แนวเขตป่าไม้ยังไม่มี
ความชัดเจนในปัจจุบัน