Page 34 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 34

7



                   หน่วยงานของรัฐใช้ประโยชน์ จะเห็นได้ว่าการจ าแนกที่ดินเพื่อสงวนหวงห้ามและการใช้ประโยชน์

                   ได้ด าเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๓ โดยที่ในขณะนั้นประชากรของประเทศมีเพียง ๒๖.๒ ล้านคน และ
                   การใช้ประโยชน์ในที่ดินยังไม่มีความหลากหลายมากนัก แต่ในปัจจุบันประชากรของประเทศเพิ่มขึ้น

                   มากกว่า ๖๕ ล้านคน มีการใช้ประโยชน์ในที่ดินเพื่อประกอบกิจการอันหลากหลาย มีวิทยาการในการใช้
                   ประโยชน์ในที่ดินมากขึ้น แต่การจ าแนกความเหมาะสมในการใช้ที่ดินยังไม่มีการจัดท ากันใหม่แต่อย่างใด

                   ส่งผลให้การก าหนดแนวเขตที่ดินที่สงวนหวงห้ามของรัฐไว้ตามการจ าแนก และประกาศใช้เป็นกฎหมาย
                   มีประชาชนเข้าไปใช้ประโยชน์ทั้งก่อนและหลังประกาศเป็นกฎหมาย กระทบถึงสิทธิในที่ดินของประชาชน

                   เป็นจ านวนมาก

                          ดังนั้น จึงมีความจ าเป็นอย่างยิ่งในการให้สิทธิชุมชนและการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อคุ้มครอง
                   สิทธิมนุษยชน กรณี ปัญหาแนวเขตที่ดิน เพื่อน าไปสู่การแก้ไขปัญหาพื้นที่ทับซ้อนให้ได้ข้อยุติและผลักดัน

                   ให้สิทธิชุมชน สิทธิบุคคล และสิทธิองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการมีส่วนร่วมกับรัฐในการจัดการ
                   ทรัพยากรธรรมชาติเป็นจริงในเชิงปฏิบัติ


                          จากสภาพปัญหาและความจ าเป็นตามที่กล่าวมา จึงได้ก าหนดกรอบแนวคิดไว้ว่า การก าหนด
                   แนวเขตที่ดินสงวนหวงห้ามของรัฐที่ได้ด าเนินการมาแล้ว และก าลังด าเนินการ หรือจะด าเนินการต่อไป

                   หน่วยงานของรัฐที่ด าเนินการก าหนดแนวเขต ได้ตรวจสอบพื้นที่ที่ก าหนดนั้นอย่างละเอียดครบถ้วน
                   อย่างไร ในพื้นที่ตามที่กล่าวมีประชาชนอยู่อาศัยใช้ประโยชน์ในที่ดินอยู่หรือไม่ และในระหว่างด าเนินการ

                   ประกาศเป็นกฎหมายมีแนวทางให้รวดเร็วได้อย่างไร โดยค านึงถึงประชากรของประเทศที่เพิ่มขึ้น มีความ
                   จ าเป็นในการใช้ที่ดินเพื่อท าประโยชน์ และในการก าหนดแนวเขตที่สงวนหวงห้ามของรัฐนั้นๆ สามารถ

                   ก าหนดให้ประชาชนแห่งท้องถิ่นนั้นเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผน การด าเนินงาน และการดูแลรักษาไว้
                   ให้มีความยั่งยืนมิให้เกิดข้อพิพาทขัดแย้งกัน มีความชัดเจนของแนวเขตที่ก าหนด โดยประชาชนในท้องถิ่น

                   รับรู้และตกลงร่วมกัน ทั้งให้มีแนวทางแก้ไขข้อพิพาทของผู้ที่ได้รับผลกระทบสิทธิในที่ดินจากการก าหนด
                   แนวเขตพื้นที่สงวนหวงห้ามของรัฐ ทั้งนี้ ความเห็นและสิทธิของประชาชนย่อมมีความส าคัญในการจะให้มี

                   พื้นที่สงวนหวงห้ามนั้นไว้เพียงใด หรือจะคุ้มครองรักษาไว้ใช้ร่วมกันอย่างไร เพราะประชาชนทุกคน
                   เป็นเจ้าของประเทศ และเป็นเจ้าของทรัพยากรทุกชนิดในประเทศนี้ จะร่วมกันบริหารจัดการอย่างไร

                   ให้เกิดความสมดุลทางธรรมชาติ การใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าและมีความเป็นธรรมอย่างที่สุด

                    ๑.๕  ขอบเขตกำรศึกษำ


                          (1) ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่ดิน ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันของหน่วยงานหลัก

                   ในการบริหารจัดการที่ดินโดยตรง และขอบเขตก าหนดโดยแผนที่แนบท้ายหรืออื่นๆที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
                   กรมที่ดิน ส านักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

                   กรมธนารักษ์  กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ  รวมทั้งศึกษาปัญหาอุปสรรคและ
                   แนวทางแก้ไขของหน่วยงานเหล่านั้น
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39