Page 38 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 38
11
(2) ส ารวจข้อมูลและให้ประชาชนที่ประสบปัญหาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความคิดเห็น
ถึงรูปแบบวิธีการ ปัญหาอุปสรรค และแนวทางแก้ไขจากผู้ประสบปัญหาด้านที่ดินในพื้นที่กรณีศึกษา
7 กรณี รวม 7 ครั้ง
(3) จัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่กรณีศึกษา
7 กรณี รวม 7 ครั้ง
(4) ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลรวมทั้งจัดท าร่างแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชน
ในการก าหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
(5) จัดท ารายงานผลการศึกษา รายงานสรุปความคิดเห็น และแนวทางการด าเนินงาน
พร้อมรายงานฉบับสมบูรณ์
(6) จัดประชุมสัมมนาหรือเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อน าเสนอร่างรายงานผลการศึกษาวิจัย
ฉบับสมบูรณ์ และมีการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาปรับปรุงผล
การศึกษาวิจัยให้มีความถูกต้องสมบูรณ์ จ านวน 1 ครั้ง
๑.๘ ผลที่คำดว่ำจะได้รับ
(๑) ป้องกันการละเมิดสิทธิของประชาชนและชุมชน และให้หน่วยงานของรัฐเห็นความส าคัญต่อ
สิทธิของประชาชนในการก าหนดแนวเขต และการแก้ไขปัญหาพื้นที่ทับซ้อนแนวเขตที่ดินของรัฐ
เขตอนุรักษ์ ที่ดินรัฐประเภทอื่นๆ และที่ดินของชุมชนและประชาชน
(๒) ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วม ในการแก้ไขปัญหาพื้นที่ทับซ้อนและการก าหนดแนวเขตที่ดิน
ของรัฐ
(๓) ได้แนวทางปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมา การก าหนดแนวเขตที่ดินของรัฐโดยไม่มี
ความขัดแย้งกับประชาชน และสามารถวางแนวทางการด าเนินงานในอนาคตได้อย่างเป็นรูปธรรม
ทั้งสามารถน าไปใช้เป็นพื้นที่ตัวอย่างในการรณรงค์ให้เกิดการแก้ไขปัญหาพื้นที่ทับซ้อนในเชิงนโยบาย
ต่อไป
(๔) ได้แนวทางและวิธีการรณรงค์ผลักดันให้สิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการ
ทรัพยากรป่าไม้และที่ดินของประชาชนเป็นจริงในเชิงปฏิบัติตามของรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. ๒๕๕๐ และ
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ก าลังจะเกิดขึ้น
(๕) สิทธิชุมชนและการมีส่วนร่วมของประชาชน ท าให้สามารถคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาในด้านต่างๆ ที่เกิดความขัดแย้งของหน่วยงานภาครัฐและประชาชน และ
น าไปประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานในการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนและชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรม