Page 30 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 30

3



                   นอกจากนี้ มาตรา ๒๙๐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมมีอ านาจหน้าที่ส่งเสริมและรักษาคุณภาพ

                   สิ่งแวดล้อมในการจัดการ การบ ารุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                   ที่อยู่ในเขตพื้นที่ การเข้าไปมีส่วนร่วมในการบ ารุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อยู่นอก

                   เขตพื้นที่ เฉพาะในกรณีที่อาจมีผลกระทบต่อการด ารงชีวิตของประชาชนในพื้นที่ของตน

                          ในส่วนที่ ๘ แนวนโยบายด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มาตรา ๘๕ รัฐต้อง
                   ด าเนินการตามแนวนโยบายด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม โดยก าหนดหลักเกณฑ์การใช้

                   ที่ดินให้ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยให้ค านึงถึงความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ทั้งผืนดิน
                   ผืนน้ า วิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น และการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ และก าหนด

                   มาตรฐานการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน โดยต้องให้ประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากหลักเกณฑ์การใช้ที่ดิน
                   นั้นมีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้วย รวมไปถึงจัดให้มีแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ าและ

                   ทรัพยากรธรรมชาติอื่นอย่างเป็นระบบ และเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม ทั้งต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วม
                   ในการสงวน บ ารุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ

                   อย่างสมดุล โดยประชาชน ชุมชนท้องถิ่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องมีส่วนร่วมในการก าหนด
                   แนวทางการด าเนินงาน


                          เห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้รับรองสิทธิชุมชน บุคคล และ
                   องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ จัดการและใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและ

                   สิ่งแวดล้อมร่วมกับรัฐหลายฉบับหรือก่อนหน้านั้น การจัดการทรัพยากรธรรมชาติที่มีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน
                   ไม่ได้ให้ความส าคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน ท าให้มีความขัดแย้งในเชิงปฏิบัติด้านหลักการปฏิบัติ

                   และด้านสิทธิของประชาชน โดยเฉพาะการประกาศเขตอนุรักษ์ (อุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์
                   สัตว์ป่า) ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมในการก าหนดแนวเขตป่าอนุรักษ์ ท าให้เขตอนุรักษ์ซ้อนทับที่ดินท ากิน

                   ของประชาชน และมีบางกรณีมีการประกาศเขตอนุรักษ์ทับที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินที่ได้อนุญาตให้เกษตรกร
                   เข้าท าประโยชน์ ท าให้ประชาชนไม่ได้รับสิทธิอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

                          รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ก าหนดในมาตรา ๓๕

                   ให้คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญต้องจัดท าร่างรัฐธรรมนูญให้ครอบคลุมเรื่องดังต่อไปนี้ด้วย

                                 (๖) กลไกที่มีประสิทธิภาพในการสร้างเสริมความเข้มแข็งของหลักนิติธรรม และ

                   การสร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในทุกภาคส่วนและทุกระดับ

                                 (๘) กลไกที่มีประสิทธิภาพในการใช้จ่ายเงินของรัฐให้เป็นไปอย่างคุ้มค่าและตอบสนอง
                   ต่อประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนโดยสอดคล้องกับสถานะทางการเงินการคลังของประเทศ และกลไก

                   การตรวจสอบและเปิดเผยการใช้จ่ายเงินของรัฐที่มีประสิทธิภาพ

                          ค าแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 กันยายน ๒๕๕๗

                   โดยค าแถลงดังกล่าวมีความยาวทั้งหมด 23 หน้า ครอบคลุมนโยบาย 11 ด้าน ของรัฐบาล โดยมีส่วน
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35