Page 32 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 32
5
ส.ป.ก. นิคมสร้างตนเองและนิคมสหกรณ์ ของกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ และกรมส่งเสริมสหกรณ์
และอื่นๆ รวมทั้ง ที่ดินของชุมชนและประชาชนที่ถูกเขตอนุรักษ์ หรือเขตป่าไม้ หรือหน่วยงานของรัฐ
ประกาศทับที่ดินท ากินและที่อยู่อาศัย ท าให้ประชาชนสูญเสียโอกาสจะได้รับสิทธิท ากิน โดยก าหนดให้มี
การมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อน าไปสู่การแก้ไขปัญหาพื้นที่ทับซ้อนให้ได้ข้อยุติและผลักดันให้สิทธิชุมชน
สิทธิบุคคล และสิทธิองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการมีส่วนร่วมกับรัฐในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
เป็นจริงในเชิงปฏิบัติ ทั้งนี้ สิทธิชุมชนและการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ยังเป็น
ส่วนหนึ่งอันส าคัญที่จะสามารถแก้ไขปัญหาในด้านต่างๆ ที่เกิดความขัดแย้งในการด าเนินงานของหน่วยงาน
ภาครัฐที่ได้ละเมิดสิทธิของประชาชนด้วย
๑.๒ วัตถุประสงค์ของกำรศึกษำ
(1) เพื่อศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่ดิน และการก าหนดขอบเขตโดยแผนที่
แนบท้ายหรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องของหน่วยงานหลักที่มีหน้าที่ในการบริหารจัดการที่ดิน
(2) เพื่อศึกษาและเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาการทับซ้อนแนวเขตที่ดินของเขตอนุรักษ์
กับที่ดินของรัฐประเภทอื่นๆ ที่รัฐจัดสรรให้กับประชาชน
(3) เพื่อศึกษาและเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการก าหนดแนวเขตที่ดิน
ของรัฐ รวมทั้ง แนวทางในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชน ในการก าหนดแนวเขต
ที่ดินของรัฐ
๑.๓ ค ำถำมหลักกำรวิจัย (โจทย์กำรวิจัย)
การก าหนดแนวเขตพื้นที่โดยใช้แผนที่แนบท้ายซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมาย การปรับปรุงแนวเขต
ในแต่ละหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลรักษาพื้นที่และภาคประชาชน รวมถึงการสงวนหวงห้ามที่ดิน
ของรัฐให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อน ามาปรับปรุงแก้ไขแผนที่แนบท้าย
เพื่อก าหนดแนวเขตตามความเป็นจริงมิให้ทับซ้อนกัน โดยต้องบูรณาการกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
และภาคประชาชนอย่างเป็นระบบ ที่ส าคัญคือต้องให้ประชาชนและชุมชนทราบข้อมูลข่าวสารและสิทธิ
โดยที่ผ่านมาการด าเนินการเน้นหน่วยงานของรัฐเป็นหลัก ไม่มีการมีส่วนร่วมของประชาชน ท าให้
สิทธิมนุษยชนไม่ได้รับการคุ้มครอง ที่ดินของประชาชนจึงอยู่ในแนวเขตพื้นที่ของรัฐ จึงมีค าถามหลัก ดังนี้
(1) มีแนวทาง ขั้นตอน และวิธีการปฏิบัติอย่างไรเพื่อให้การปรับปรุงหรือก าหนดแนวเขตที่ดิน
ในแต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการบูรณาการและสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนให้มีประสิทธิภาพ
สูงสุด
(2) มีแนวทางอย่างไร ให้ประชาชนและชุมชนทราบข้อมูลข่าวสาร และเข้ามามีส่วนร่วมในการก าหนด
แนวเขตที่ดินของรัฐ โดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างไร ตรงจุดไหน และวิธีการใด