Page 29 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 29

2



                       การก าหนดขอบแนวของพื้นที่โดยภาครัฐก าหนด และใช้แผนที่แนบท้ายเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมาย

               ซึ่งมิได้ตรวจสอบพื้นที่จริงโดยละเอียด ท าให้กระทบกับสิทธิของประชาชนและชุมชน ก่อให้เกิดปัญหา
               ข้อโต้แย้งและเกิดคดีความ สาเหตุที่ส าคัญส่วนหนึ่งมาจากรัฐด าเนินการโดยอ านาจตัดสินใจอยู่ที่ส่วนกลาง

               ประชาชนไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วม รัฐบาลหลายชุดที่ผ่านมาจึงได้พยายามแก้ไขปัญหาเหล่านี้

                       การตรวจสอบเพื่อปรับปรุงแนวเขต หรือเปลี่ยนแปลงแนวเขต หรือ Reshape  ของหน่วยงาน
               ที่ดูแลรับผิดชอบด้านที่ดิน ได้ด าเนินการมาแล้วหลายครั้งท าให้เสียงบประมาณไปเป็นจ านวนมาก

               ซึ่งเป็นการด าเนินการโดยหน่วยงานภาครัฐที่ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน และการคุ้มครองสิทธิ
               ของชุมชนและประชาชนยังไม่ประสบผลและยังคงด าเนินการต่อไป โดยล่าสุดในปีงบประมาณ พ.ศ.

               ๒๕๕๖ ได้อนุมัติงบประมาณให้กรมที่ดิน จ านวน ๒,๐๐๐ ล้านบาท เพื่อจัดท าแผนที่ก าหนดขอบเขตที่ดิน
               กันใหม่อีกครั้งและอยู่ในระหว่างด าเนินการ


                       รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้ก าหนดในเรื่องการมีส่วนร่วม
               ของประชาชน ข้อมูลข่าวสาร สิทธิของชุมชนและมนุษยชนไว้อย่างค่อนข้างครบถ้วน ได้แก่ ส่วนที่ ๑๐

               แนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ก าหนดไว้ใน มาตรา ๘๗ รัฐต้องด าเนินการตามแนวนโยบาย
               ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วม มาตรา ๕๖ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับ

               ทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะ มาตรา ๕๗ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูลค าชี้แจง
               และเหตุผลจากหน่วยราชการหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ก่อนการอนุญาต

               หรือการด าเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพ สิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย
               คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียส าคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตนหรือชุมชนท้องถิ่น และมีสิทธิแสดงความคิดเห็น

               ของตนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อน าไปประกอบการพิจารณา มาตรา ๕๘  บุคคลย่อมมีสิทธิมีส่วนร่วม
               ในกระบวนการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติราชการทางปกครองอันมีผลหรืออาจมี

               ผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของตน มาตรา ๕๙ บุคคลย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์และได้รับแจ้งผล
               การพิจารณาภายในเวลาอันรวดเร็ว

                       ในส่วนที่ ๑๒ สิทธิชุมชน มาตรา ๖๖ บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชน ชุมชนท้องถิ่น หรือชุมชน

               ท้องถิ่นดั้งเดิม ย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
               และของชาติและมีส่วนร่วมในการจัดการ การบ ารุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ

               สิ่งแวดล้อม รวมทั้ง ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน มาตรา ๖๗ สิทธิของบุคคล
               ที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการอนุรักษ์ บ ารุงรักษาและการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ

               และความหลากหลายทางชีวภาพ และในการคุ้มครอง ส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ด ารงชีพ
               อยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือ

               คุณภาพชีวิตของตน ย่อมได้รับความคุ้มครองตามความเหมาะสม การด าเนินโครงการหรือกิจกรรม
               ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และ

               สุขภาพ จะกระท ามิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
               ของประชาชนในชุมชน และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34