Page 210 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 210

๑๘๓



                   ให้ถูกต้องตามความเป็นจริงให้รวดเร็ว ทั้งนี้ ในการก าหนดแนวเขตใหม่นี้ จะต้องให้ประชาชนที่มีส่วนได้เสีย

                   กับการก าหนดแนวเขตที่ดินของรัฐเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนด้วย

                          ๓. ต้องปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารให้เป็นกฎหมายที่มีลักษณะประสานสัมพันธ์
                   ของข้อมูลและข่าวสารให้แก่ประชาชนในทุกระดับให้ทราบโดยทั่วกัน เพื่อประโยชน์ในการที่จะเข้าไป

                   มีส่วนร่วม แสดงความคิดเห็น ร่วมท า ร่วมตรวจสอบ และร่วมรับผิดชอบกับการด าเนินการของรัฐได้

                   ทั้งปรับปรุงเรื่องการกระจายอ านาจ โดยให้หน่วยงานกระจายอ านาจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

                   และชุมชนให้มากขึ้น จนในที่สุดส่วนกลางก็เป็นเพียงผู้ก าหนดงานด้านวิชาการเท่านั้น ส่วนงานด้าน
                   การปฏิบัติจะเป็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชนเป็นหลัก


                          ทั้งนี้ ให้ระบุให้มีการการจัดรับฟังความคิดเห็นไว้ในกฎหมายเรื่องการมีส่วนร่วม ส าหรับการ
                   ก าหนดเขตที่ดินของรัฐ เช่น การออกพระราชกฤษฎีกาในกรณีอุทยานแห่งชาติ หรือกฎกระทรวงในกรณี

                   ป่าสงวนแห่งชาติ เป็นต้น


                          ส าหรับการปรับปรุงกฎหมายทั้ง ๓ ด้าน คือ ด้านข้อมูลข่าวสาร การมีส่วนร่วม และการกระจาย
                   อ านาจให้เป็นกฎหมายฉบับเดียวกันนั้น เพื่อให้เห็นความสอดคล้องและเชื่อมโยงกันของขั้นตอนทั้ง ๓ ด้าน

                   ว่า เชื่อมโยงและสัมพันธ์กัน หากขาดด้านใดด้านหนึ่งไป การมีส่วนร่วมของประชาชนจะไม่ประสบ

                   ผลส าเร็จ

                          ๔. ให้ออกกฎหมายให้ชัดเจนว่า การด าเนินการของรัฐในการให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร

                   การมีส่วนร่วม และการกระจายอ านาจ รวมทั้ง การจัดรับฟังความคิดเห็นไว้ในกฎหมายเรื่องการมีส่วนร่วม

                   ส าหรับการก าหนดเขตที่ดินของรัฐ หากไม่ด าเนินการถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และที่ส าคัญก็คือ
                   ให้บัญญัติไว้ด้วยว่า ผลการด าเนินการที่ไม่ได้ให้ประชาชนมีส่วนร่วมนั้น ให้ถือว่ากิจกรรมนั้นไม่สมบูรณ์

                   ไม่มีผลในทางปฏิบัติ

                          ๕. ให้รัฐจัดตั้งส่วนราชการให้มีหน้าที่ในการจัดท ามาตรฐานระวางแผนที่และแผนที่รูปแปลงที่ดิน

                   ของรัฐ โดยเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดท าแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาหรือกฎกระทรวงเพื่อออกเป็น

                   กฎหมาย และท างานแทนส านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาในส่วนของแผนที่แนบท้าย ส าหรับในเรื่องการ

                   ยกร่างข้อความและการตรวจสอบข้อความและรูปแบบของกฤษฎีกา หรือกฎกระทรวง ส านักงาน
                   คณะกรรมการกฤษฎีกาก็ยังคงมีอ านาจเช่นเดิม ซึ่งจะย่นระยะเวลาในการท าแผนที่แนบท้ายได้มาก

                   นอกจากนั้นมีความถูกต้องและสามารถตรวจสอบการมีส่วนร่วมว่า ได้ผ่านขั้นตอนการมีส่วนร่วมจาก

                   ประชาชนมาครบถ้วนสมบูรณ์หรือไม่ เมื่อใด

                          ๖. นอกจากจะปรับปรุงกฎหมายการมีส่วนร่วม ให้รวมกับเรื่องข้อมูลข่าวสาร และ การกระจาย

                   อ านาจไว้ในกฎหมายการมีส่วนร่วมแล้ว รัฐควรตั้งส านักงานการมีส่วนร่วมขึ้น โดยให้เป็นส่วนราชการ

                   มีฐานะเป็นกรม เพื่อดูแลกฎหมายฉบับนี้ และเป็นการส่งเสริม ก ากับและติดตาม ทั้งท างานวิชาการและ
   205   206   207   208   209   210   211   212   213   214   215