Page 209 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 209

๑๘๒



                              (๕) คณะท างานจัดท าแนวเขต สามารถเข้าตรวจสอบการท างานของเจ้าหน้าที่จัดท า

               แนวเขตได้ในทุกขั้นตอนตลอดเวลา และในการด าเนินการทุกขั้นตอนต้องมีการเปิดเผยข้อมูลให้คณะท างาน
               ในระดับท้องถิ่น ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก านัน ผู้ใหญ่บ้าน และภาคประชาชนทราบทุกขั้นตอน


                              (๖) เมื่อการด าเนินการเกี่ยวกับแผนที่ขอบเขตที่ดินเสร็จสิ้นแล้ว คณะท างานจัดท า
               แนวเขต และเจ้าหน้าที่จะต้องรับผิดชอบชี้แจงให้ข้อมูลกับประชาชนหรือสื่อสาธารณะ (ประชาสัมพันธ์)

               เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์


                       ๒. ด้วยเหตุที่ประเทศไทยมีจ านวนประชากรจ านวนมากถึง ๖๕.๙ ล้านคน (ปี พ.ศ. ๒๕๕๓)
               มีกิจกรรมที่ด าเนินการบนที่ดินของประเทศแบ่งออกเป็น ทางด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ

               สิ่งแวดล้อม และทางด้านเศรษฐกิจและสังคม เช่น สาธารณประโยชน์ อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม

               ท่องเที่ยว เกษตรกรรม และที่อยู่อาศัย มีการบุกรุกที่ดินท ากินโดยผิดกฎหมายในที่ดินสงวนหวงห้าม

               ของรัฐ ทั้งในเขตป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ และที่สาธารณประโยชน์อื่นๆ เป็นจ านวนมาก การใช้
               กฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันด าเนินการกับประชาชนที่บุกรุกไม่มีทางที่จะแก้ไขปัญหาได้ เพราะระบบการ

               บริหารจัดการเรื่องที่ดินผิดพลาดในอดีต และการจ าแนกประเภทที่ดินที่ล้าสมัย ทั้งขาดการควบคุมโดย

               เคร่งครัด และยังมีการเลือกปฏิบัติที่กระท าเฉพาะกับผู้ด้อยโอกาส โดยเฉพาะกรณีการให้ความยุติธรรม
               ภายใต้กรอบกฎหมาย จึงเห็นว่า รัฐควรจัดท าแนวเขตใหม่ด้วยเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ในการจัดท าแนวเขต

               ซึ่งมีทั้งภาพถ่ายทางอากาศ หรือใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียมจะสามารถแก้ไขปัญหาการบุกรุกรายใหม่ได้

               และรัฐควรก าหนดเขตการใช้ประโยชน์ในที่ดินหรือจ าแนกพื้นที่กันใหม่ โดยจ าแนกประเภทการใช้
               ประโยชน์ในที่ดินใหม่ให้ทันสมัย และให้สามารถเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพความเจริญของบ้านเมืองได้


                      ปัจจุบันควรมีการปรับปรุงจ าแนกการใช้ที่ดินกันใหม่ตามการเพิ่มขึ้นของประชากร วิถีชีวิต อาชีพ

               และความเป็นอยู่ของประชาชนที่มีความจ าเป็นจากการใช้ประโยชน์ในที่ดินตามความเป็นจริง และในปัจจุบัน
               มีวิทยาการในการบริหารจัดการใช้ประโยชน์จากที่ดินมากขึ้น ทั้งยังมีภาพถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายจาก

               ดาวเทียม ที่สามารถให้ข้อมูลในการใช้ประโยชน์ในที่ดิน อีกทั้งมีการประกอบอาชีพใหม่ๆ เกิดขึ้น ไม่ว่าจะ
               เป็นการอุสาหกรรมการท่องเที่ยว การพาณิชยกรรม เพื่อประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม

               เทคโนโลยี และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ การจ าแนกที่ดินควรด าเนินการในระดับ
               จังหวัดตามประเภทของกิจการที่ใช้ประโยชน์  โดยแยกรายละเอียดข้อเท็จจริงตามที่เป็นจริงในปัจจุบัน

               ความเหมาะสมในการใช้ประโยชน์ตามศักยภาพของที่ดิน และให้ค านึงถึงการใช้ที่ดินในอนาคตด้วย
               ควรให้มีคณะท างานในระดับจังหวัดและในระดับพื้นที่เป็นผู้รับผิดชอบด าเนินการ


                      ส าหรับการก าหนดขอบเขตพื้นที่สงวนหวงห้ามของรัฐในอดีตที่ไม่เป็นไปตามข้อเท็จจริง
               โดยก าหนดเอาพื้นที่ที่ประชาชนใช้ประโยชน์หรือถือครองรวมเข้าไปด้วยนั้น ควรจะด าเนินการส ารวจ
               ตรวจสอบพื้นที่ในเบื้องต้นก่อนที่จะก าหนดเป็นกฎหมายอย่างละเอียดรอบคอบ หากพบว่ามีประชาชน

               อยู่ก่อนแล้ว และได้ประกาศเป็นกฎหมาย ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิของประชาชน  และจะต้องแก้ไข
   204   205   206   207   208   209   210   211   212   213   214