Page 212 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 212

๑๘๕



                          ๙. สมควรที่จะมีศาลเพื่อพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องที่ดินของรัฐขึ้นโดยเฉพาะ จะได้ทราบปัญหาลึกซึ้ง

                   และหาช่องทางในลักษณะประนีประนอม เพื่อแก้ไขปัญหาร่วมกัน ระหว่างหน่วยงานของรัฐกับประชาชน
                   ให้เกิดผลดีที่สุด ทั้งเพื่อให้เกิดความเป็นมาตรฐานในการสอบสวน การฟ้องร้องและการด าเนินคดีเกี่ยวกับ

                   กรณีที่ดินของรัฐ ในกรณีพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งมีความแตกต่างกันทางด้านความคิด

                   ธรรมเนียมประเพณีในพื้นที่แต่ละภาค


                          ดังนั้น เพื่อให้มีความรวดเร็วและเป็นธรรมต่อเกษตรกรผู้ยากจนที่ได้รับผลกระทบเกี่ยวกับสิทธิ
                   ในที่ดินตามการประกาศพื้นที่สงวนหวงห้ามของรัฐ และท าให้ประชาชนที่อยู่อาศัยท าประโยชน์ในพื้นที่นั้น
                   ได้รับความเป็นธรรมในการด าเนินคดีและไม่เป็นการเลือกปฏิบัติ ควรให้มีศาลพิจารณาพิพากษาตัดสิน

                   ในประเด็นนี้เป็นการเฉพาะ และหน่วยงานที่ให้การช่วยเหลือประชาชนที่ถูกด าเนินคดีต้องเข้าไป

                   ด าเนินการทันทีโดยมิต้องให้ประชาชนร้องขอ

                          จากผลของการศึกษาสรุปได้ ดังนี้

                          การก าหนดแนวเขตพื้นที่ โดยวัตถุประสงค์หลักเป็นไปเพื่อให้รู้ขอบเขตส าหรับการแบ่งสันปันส่วน
                   ระหว่างกัน  หน่วยงานของรัฐได้ก าหนดพื้นที่หวงห้ามในแต่ละหน่วยงานขึ้นตามรูปแบบต่างๆ ปัญหา

                   เกี่ยวกับสิทธิในที่ดินจึงมีจ านวนเพิ่มมากขึ้น การแก้ไขปัญหาในเรื่องดังกล่าว ต้องใช้ทั้งแนวเขตและสภาพ

                   ข้อเท็จจริงในพื้นที่ที่มีการหวงห้ามเป็นข้อมูลในการแก้ไขปัญหา การประกาศก าหนดให้เป็นที่ดินของรัฐ
                   แบ่งแยกออกตามวัตถุประสงค์หรือนโยบายของรัฐได้เป็น  2  ประเภท  คือ เป็นพื้นที่ที่รัฐมีวัตถุประสงค์
                   ในการสงวนเพื่อการใช้ประโยชน์ร่วมกันในพื้นที่ ทั้งแก่รัฐและแก่ประชาชน   และเป็นพื้นที่ที่รัฐ

                   มีวัตถุประสงค์ในการสงวนเพื่อการสงวนรักษาทรัพยากรธรรมชาติ โดยพบว่ามีปัญหากระทบกับสิทธิใน

                   ที่ดินของประชาชน ซึ่งสรุปประเด็นปัญหาได้ ๓ ประการ คือ (๑) แนวเขตที่ก าหนดมีการทับซ้อนกัน
                   ระหว่างพื้นที่ของหน่วยงานต่างๆ (๒) แนวเขตที่ก าหนดมีความผิดพลาด ไม่เป็นไปตามข้อเท็จจริง  ซึ่งใน
                   สภาพปัญหานี้สามารถจ าแนกได้เป็น ๓ ปัญหาย่อย คือ  การไม่ยอมรับ ไม่เป็นไปตามข้อเท็จจริง และ

                   แนวเขตที่ก าหนดล้าสมัย และ (๓) ความล่าช้าในการก าหนดแนวเขตพื้นที่สงวนหวงห้ามของรัฐ

                          ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้น าเรื่องร้องเรียนจากประชาชนเกี่ยวกับที่ดินและป่าไม้ต่อคณะกรรมการ

                   สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยได้เลือกกรณีค าร้อง จ านวน ๗ กรณีศึกษา โดยเน้นกรณีศึกษาในพื้นที่ ป่าไม้
                   จ านวน ๖ กรณี และที่ดินสงวนหวงห้ามกับที่ดินสาธารณประโยชน์ จ านวน ๑ กรณี สรุปได้ว่า

                          (๑) รัฐเป็นผู้ก าหนดเขตจ าแนกพื้นที่แต่ฝ่ายเดียว โดยไม่ค านึงถึงสภาพข้อเท็จจริงในพื้นที่ว่า

                   ประชาชนท ากินมาก่อน ท าให้ประชาชนไม่ได้รับสิทธิตามกฎหมายก าหนด

                          (๒) ปัญหาข้อขัดแย้ง ยังไม่สามารถหาข้อยุติแนวเขตร่วมกันของหน่วยงานได้ ประชาชน

                   ถูกจับกุมด าเนินคดี และไม่สามารถท ากินได้ตามสิทธิที่ควรจะได้รับตามกฎหมาย หน่วยงานของรัฐมิได้
                   เร่งรัดให้มีการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับประชาชนผู้เดือดร้อน
   207   208   209   210   211   212   213   214   215   216   217