Page 205 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 205

๑๗๘



                       วิเคราะห์ได้ว่า : พื้นที่หนองหารยังมีปัญหาการออกเอกสารสิทธิไม่ชอบด้วยกฎหมายในเขตพื้นที่

               หนังสือส าคัญส าหรับที่หลวง แต่ที่ดินที่ประชาชนถือครองและใช้ประโยชน์มีมาก่อนแต่ไม่ได้รับเอกสารสิทธิ
               ท าให้ประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรมการก าหนดเขตที่ดินของรัฐ ที่ผ่านมาประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการ

               กันพื้นที่ท ากินและที่ตั้งชุมชนออกจากแนวเขตที่ดินของรัฐ ในขณะที่จ านวนประชากรก็ขยายตัวเพิ่มมาก
               ขึ้น ประกอบกับไม่สามารถชี้แนวเขตพระราชกฤษฎีกาก าหนดเขตหวงห้ามได้ ท าให้ประชาชนจ านวนมาก

               เสียสิทธิในการออกเอกสารสิทธิในที่ดิน

                       นอกจากนี้ ได้มีการส ารวจความคิดเห็นของประชาชนโดยใช้แบบสอบถามเป็นการส ารวจข้อมูลการ
               มีส่วนร่วมของประชาชนในการก าหนดแนวเขตที่ดินรัฐ เนื่องจากการส ารวจต้องการทราบถึงข้อคิดเห็นและ

               ข้อเสนอแนะของประชาชนที่ประสบปัญหาในพื้นที่กรณีศึกษาทั้ง ๗ แห่ง ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น
               โดยครอบคลุมพื้นที่บางส่วนใน 8 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ราชบุรี นครราชสีมา สกลนคร ล าปาง

               สุราษฎร์ธานี พัทลุง และนครศรีธรรมราช จากจ านวนผู้เข้าร่วมประชุม จ านวน ๓๕๐ ราย มีจ านวนผู้ตอบ
               แบบสอบถามรวมทั้งสิ้น 129 ราย ผลการตอบแบบสอบถามสรุปได้ ดังนี้


                       ประเด็นความรู้ ความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการก าหนดแนวเขต
               ที่ดินรัฐ พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 60.5  มีความรู้ ความเข้าใจในระดับมากถึงมากที่สุด

               ที่หน่วยงานของรัฐต้องเข้ามารับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่ได้รับผลกระทบหรืออาจได้รับผลกระทบ
               ต่อการด าเนินงานของรัฐ และประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 44.2  มีความรู้ ความเข้าใจ ในระดับที่มากที่ให้

               ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการและใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่ในเรื่อง
               ที่หน่วยงานของรัฐได้เข้ามาประชาสัมพันธ์ ชี้แจง และรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อนการก าหนด

               แนวเขตที่ดินรัฐนั้น ประชาชนส่วนใหญ่คิดว่ายังมีส่วนร่วมในระดับที่น้อยมากจนถึงปานกลาง (ร้อยละ
               72.90) แสดงให้เห็นว่าหน่วยงานภาครัฐมีการประชาสัมพันธ์ ชี้แจงข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งเปิดโอกาส

               ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นยังไม่ทั่วถึง ซึ่งสอดคล้องกับค าถามข้อที่สี่ ในเรื่องการมี
               ส่วนร่วมของประชาชนในการแสดงความคิดเห็น และให้ข้อเสนอแนะในการรับฟังความคิดเห็น

               ของหน่วยงานรัฐที่ผลการส ารวจของประชาชนส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 33.0) จึงแห็นว่า
               ประชาชนส่วนมากยังไม่มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น อย่างไรก็ตามประชาชน

               ในชุมชนส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 51.9 ยังมีความเห็นว่าชุมชนควรมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ
               และสิ่งแวดล้อมเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างยั่งยืน

                       ประชาชนผู้ตอบแบบสอบถามได้ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางให้ภาครัฐน าไป

               ปรับปรุงการด าเนินงานก าหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ สามารถสรุปประเด็นส าคัญๆ ได้ดังนี้

                           (1) ภาครัฐควรประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร ชี้แจง และสร้างความเข้าใจกับประชาชนและ

               ท้องถิ่นให้มีความรู้ ความเข้าใจในการก าหนดแนวเขตที่ดินของรัฐก่อนที่จะประกาศเป็นเขตอุทยาน
               แห่งชาติ ควรเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริง
   200   201   202   203   204   205   206   207   208   209   210