Page 206 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 206

๑๗๙



                              (2) ควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น โดยให้ภาครัฐจัดตั้งกลไกการแก้ไขปัญหา

                   ที่ดินแนวเขตทุกระดับก่อนที่จะประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการก าหนด
                   กฎเกณฑ์ในการใช้ประโยชน์ในที่ดินและรักษาพื้นที่ป่า รวมทั้งให้ภาคประชาชนและท้องถิ่นเข้าร่วมเป็น

                   คณะท างาน หรือออกส ารวจพื้นที่ร่วมกัน

                              (3) ภาครัฐควรเร่งจัดท าแนวเขตให้มีความชัดเจน มีการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงาน
                   เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาแนวเขตที่ดินที่ทับซ้อนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน รัฐควรแก้ไขปัญหาแนวเขตให้

                   เป็นปัจจุบัน ด าเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

                              (4) ภาครัฐควรบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ด าเนินการตามกฎหมายไม่เน้นบุคคลใด

                   บุคคลหนึ่ง รวมทั้งร่วมกันแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องของทุกหน่วยงานให้มีความทันสมัยและเป็นปัจจุบัน

                              (5) การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับที่ดินของรัฐต้องเร่งแก้ไขในระหว่างที่
                   รัฐบาลมีอ านาจเต็มภายในปี พ.ศ. 2558 ควรเร่งจัดท าแผนแม่บทในการก าหนดเขตที่ดินของรัฐทุกแปลง

                   โดยตั้งคณะท างานระดับจังหวัดให้เป็นผู้เสนอแนวทางและน าเข้าสภานิติบัญญัติออกเป็นกฎหมาย

                          ในด้านการจัดท าแนวเขต การมีส่วนร่วมของประชาชน และพื้นที่กรณีศึกษา สามารถวิเคราะได้

                   ว่าการก าหนดแนวเขตของพื้นที่สงวนหวงห้ามของรัฐได้ด าเนินการตามนโยบายในการรักษาพื้นที่ของรัฐไว้
                   เพื่อประโยชน์สาธารณะและรักษาสภาพแวดล้อม แต่ในการด าเนินงานยังมีปัญหาที่ต้องแก้ไขให้บรรลุ

                   ไม่ให้กระทบกับสิทธิในการถือครองที่ดินของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่แห่งนั้น ก่อนด าเนินการประกาศใช้
                   เป็นกฎหมายบังคับ หรือต้องด าเนินการหาทางแก้ไขเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบเสียก่อน เมื่อด าเนินการไป

                   แล้วยังต้องดูแลรักษาพื้นที่เหล่านั้น เพื่อให้มีสภาพที่มั่นคงไม่เสียหายหรือเสื่อมสภาพไป

                          สามารถวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหา แนวทางในการปฏิบัติของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ
                   ก าหนดแนวเขตที่ดินของรัฐได้ ๘ ประเด็น คือ


                          ๑.  การมีส่วนร่วมของประชาชน และความสัมพันธ์ของการมีส่วนร่วม ข้อมูลข่าวสาร และ
                   การกระจายอ านาจ พบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชน ไม่มีการด าเนินการอย่างต่อเนื่อง ไม่มีองค์กร

                   รับผิดขอบหลักที่มีหน้าที่ในการก าหนดหลักเกณฑ์ ประชาชนและส่วนราชการยังไม่เห็นความส าคัญ
                   ของการมีส่วนร่วม ขาดรูปแบบการมีส่วนร่วมที่แท้จริง  โครงสร้างระบบราชการไม่เกื้อหนุนให้ประชาชน

                   สามารถเข้าไปมีส่วนร่วม รัฐมิได้ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ส าหรับความสัมพันธ์กัน
                   ระหว่างการมีส่วนร่วม ข้อมูลข่าวสาร และการกระจายอ านาจ พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กัน กฎหมายด้าน

                   การมีส่วนร่วม การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และการกระจายอ านาจ ได้แยกหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบออก
                   จากกัน แยกกันด าเนินการ ไม่เป็นเอกภาพที่จะให้เกิดการบูรณาการ ส่งผลถึงการให้ประชาชนเข้าไปมี

                   ส่วนร่วมไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร
                          ๒.  การทับซ้อนของแนวเขตที่ดินของรัฐกระทบสิทธิในที่ดินของประชาชน พบว่า การก าหนด

                   แนวเขตที่ดินของรัฐและมีการทับซ้อนกันระหว่างหน่วยงานภายในด้วยกัน มีการทับซ้อนกันระหว่าง
                   หน่วยงาน ยังพบอีกว่าหน่วยงานของรัฐเป็นผู้ด าเนินการก าหนดแนวเขต โดยประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ
   201   202   203   204   205   206   207   208   209   210   211