Page 213 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 213

๑๘๖



                       (๓) มีการก าหนดแนวเขตพื้นที่สงวนหวงห้าของรัฐคลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริงและมีการ

               ก าหนดจุดพิกัดพื้นที่ผิดพลาด

                       (๔) การเพิ่มความเข้มข้นของกฎหมายที่กระทบสิทธิของประชาชน  เป็นการละเมิดสิทธิของ
               ประชาชนที่พึงมี


                      (๕) การมีส่วนร่วมของประชาชนมิได้เป็นที่ยอมรับและระบุไว้เป็นระเบียบปฏิบัติ เพื่อร่วมก าหนด
               แนวเขตอย่างชัดเจน ทั้งนี้ การมีส่วนร่วมของประชาชนเกิดจากการตื่นตัวและเรียกร้องของประชาชน

               มากกว่า

                      (๖) การทับซ้อนในเรื่องแนวเขตและกฎหมายเกี่ยวกับป่าไม้ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน

                       (๗) ประชาชนจ านวนมากเสียสิทธิในการออกเอกสารสิทธิในที่ดินที่มีการประกาศที่หวงห้าม

               ของรัฐ

                       สามารถวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหา แนวทางในการปฏิบัติของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ
               ก าหนดแนวเขตที่ดินของรัฐได้ ๘ ประเด็น คือ


                       ๑.  การมีส่วนร่วมของประชาชนไม่ก้าวหน้า และไม่มีความสัมพันธ์กันของการมีส่วนร่วม ข้อมูล
               ข่าวสาร และการกระจายอ านาจ

                       ๒.  การก าหนดแนวเขตที่ดินของรัฐและมีการทับซ้อนกันระหว่างหน่วยงาน ประชาชนผู้ได้รับ

               ผลกระทบจากการจัดท าแนวเขตไม่ทราบข้อมูล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ยังไม่ได้มีการแก้ไข ทั้งยังมีความ
               ล่าช้า

                       ๓. การพิจารณาออกกฎกระทรวง หรือ พระราชกฤษฎีกา มีความความล่าช้า เกิดความผิดพลาด
               ไม่เป็นไปตามข้อเท็จจริงในพื้นที่ที่ก าหนดในรูปแผนที่

                       ๔.  ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ที่ถูกก าหนดแนวเขตพื้นที่สงวนหวงห้ามของรัฐ  ต้องเป็นผู้กระท าผิด
               ตามกฎหมาย วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป กระทบสิทธิของประชาชน ละเมิดสิทธิมนุษยชน และไม่มีหน่วยงานใด

               เข้ามารับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้น
                       ๕.  การจ าแนกที่ดิน และการก าหนดแนวเขตที่ดินเพื่อการพัฒนาประเทศและการอนุรักษ์

               ทรัพยากรธรรมชาติที่ผ่านมาเป็นการด าเนินการที่ล้าสมัย และไม่เป็นไปตามข้อเท็จจริงตามความเหมาะสม
               ในการใช้ประโยชน์ตามศักยภาพของพื้นที่

                       ๖.  รัฐไม่มีการสร้างความเข้าใจกับประชาชน ในด้านการอนุรักษ์อย่างถูกวิธี และก าหนดวิธีการ
               ในการอยู่กับพื้นที่ควรสงวนรักษาอย่างยิ่ง ท าให้ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์

               ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ที่มีผลกระทบกับระบบนิเวศ
                       ๗.  การก าหนดแนวเขตที่ดินของรัฐที่เกิดการทับซ้อนที่ดินของประชาชนและท าให้ประชาขน

               เหล่านั้นเป็นผู้ที่ผิดกฎหมาย ถูกจับกุมด าเนินคดีตามที่กฎหมายก าหนด มีการเลือกปฏิบัติ มีการปล่อยปละ
               ละเลยต่อผู้กระท าความผิด มีการด าเนินการทางคดีกับผู้ด้อยโอกาสและยากจนมากกว่าผู้มีอิทธิพล

               กระบวนการยุติธรรมใช้ระยะเวลานาน
   208   209   210   211   212   213   214   215   216   217   218