Page 208 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 208

๑๘๑



                   ข้อเสนอแนะในการปฏิบัติถึงแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการก าหนด

                   แนวเขตที่ดินของรัฐ


                          ความส าคัญของการจัดท าแนวเขต สภาพปัญหาและอุปสรรคในการด าเนินงาน ที่เกี่ยวข้องกับ

                   การจัดท าแนวเขตที่ดินสงวนหวงห้ามของรัฐ ทั้งกฎหมาย ระเบียบ และค าสั่งที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน
                   และการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมไปถึงการรับฟังความคิดเห็น และได้ทราบข้อเท็จจริงของประชาชน

                   ผู้ได้รับผลกระทบในพื้นที่กรณีศึกษา ทั้งผลสรุปจากแบบสอบถาม ที่ได้พบปัญหาในการด าเนินงานก าหนด
                   แนวเขตพื้นที่สงวนหวงห้ามของรัฐ ที่ส่งผลกระทบสิทธิในที่ดินของประชาชน และวิเคราะห์ถึงสภาพ

                   ปัญหา แนวทางในการปฏิบัติของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการก าหนดแนวเขตที่ดินของรัฐได้
                   ๘ ประเด็น  ประกอบกับการจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องแล้ว น ามาสู่

                   ข้อเสนอแนะ ได้ดังต่อไปนี้

                          ๑. รัฐต้องให้ประชาชนที่มีส่วนได้เสียกับการก าหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ เข้ามามีส่วนร่วมในการ

                   ก าหนดแนวเขตในทุกขั้นตอน คือ ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมในการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล
                   ร่วมรับผลประโยชน์ พร้อมทั้งร่วมรับผิดชอบในสิ่งที่เกิดขึ้น ดังนี้

                                 (๑) หน่วยงานในระดับท้องถิ่น ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก านัน ผู้ใหญ่บ้าน

                   และภาคประชาชนจะต้องทราบข้อมูลในเรื่องวัตถุประสงค์ของโครงการในการก าหนดแนวเขตพื้นที่
                   สงวนหวงห้ามของรัฐนั้นๆ จากหน่วยงานผู้ปฏิบัติอย่างละเอียด


                                 (๒) ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก านัน ผู้ใหญ่บ้าน และภาคประชาชนในท้องถิ่นนั้น

                   เช่น กลุ่ม/เครือข่ายที่มีการรวมกลุ่มกันอยู่แล้ว เป็นคณะท างานจัดท าแนวเขต ร่วมด าเนินงานตั้งแต่
                   ประชาสัมพันธ์ และรวมถึงเข้าชี้แจงโครงการในรูปการประชุมกลุ่ม (การวางแผน การด าเนินงาน

                   การตรวจสอบ การรับผิดชอบ และการใช้ประโยชน์)  มติตามที่คณะท างานจัดท าแนวเขตที่ก าหนด

                   เป็นหลักการ แบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ  ถูกต้องตกลงร่วมกันได้ คือ ประชาชนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องแห่งท้องถิ่นนั้น

                   ตกลงให้แนวเขตตามที่ได้ตรวจสอบตกลงกัน และไม่ถูกต้องตกลงร่วมกันไม่ได้ ในกรณีไม่ถูกต้องตกลง
                   ร่วมกันไม่ได้ คณะท างานจัดท าแนวเขตต้องกลับมาวิเคราะห์หาสาเหตุ และต้องด าเนินการใหม่อีกครั้ง


                                 (๓) การส ารวจรังวัดด้วยระบบ UTM (ระบบพิกัดกริดแบบ UTM (Universal Transverse
                   Mercator  co-ordinate  System)  เป็นระบบตารางกริดที่ใช้ช่วยในการกําหนดตําแหน่งและใช้อ้างอิง

                   ในการบอกตําแหน่งที่นิยมใช้กับแผนที่ในกิจการทหารของประเทศต่างๆ  เกือบทั่วโลกในปัจจุบัน)
                   ตามระเบียบส านักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยมาตรฐานระวางแผนที่ และแผนที่รูปแปลงที่ดินของรัฐ พ.ศ.

                   ๒๕๕๐ เท่านั้น

                                 (๔) เจ้าหน้าที่ส่วนกลาง หรือส่วนภูมิภาค หรือเขตจะต้องประสานงานกับคณะท างาน

                   จัดท าแนวเขตโดยใกล้ชิดในทุกขั้นตอน
   203   204   205   206   207   208   209   210   211   212   213