Page 214 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 214

๑๘๗



                          ๘. ปัญหาแนวเขตที่ดินของรัฐ พบว่า ผลจากการก าหนดแนวเขตพื้นที่สงวนหวงห้ามของรัฐ โดยที่

                   มิได้ให้ประชาชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าไปมีส่วนร่วมในการด าเนินงาน ท าให้เกิดปัญหากระทบสิทธิ
                   ของประชาชนในด้านที่ดินท ากินและที่อยู่อาศัย มีข้อโต้แย้งอันเนื่องมาจากประชาชนไม่ทราบข้อมูลและ

                   ข้อเท็จจริงของหน่วยงานของรัฐที่ก าหนด หน่วยงานของรัฐไม่ทราบถึงความไม่พอใจของประชาชนและ
                   ไม่มีการเร่งรัดแก้ไขปัญหา

                          จึงเห็นได้ว่า หากได้ด าเนินการก าหนดแนวเขตพื้นที่สงวนหวงห้ามของรัฐ หรือกรณีแก้ไขปัญหา

                   ที่เกิดขึ้นจากการก าหนดแนวเขตไว้แล้ว ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนในการก าหนดแนวเขต
                   หรือในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จะท าให้รัฐและประชาชนได้ทราบข้อมูลข้อเท็จจริง น ามาประกอบการ

                   ตัดสินใจได้อย่างถูกต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ท าให้มีการยอมรับไม่มีข้อโต้แย้ง ส่งผลให้ไม่ต้องมีการให้
                   แก้ไขปัญหากันอีกในอนาคต


                          คณะผู้วิจัยจึงได้มีข้อเสนอแนะในการปฏิบัติถึงแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ

                   ก าหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ ดังนี้


                          ๑. ต้องให้ประชาชนที่มีส่วนได้เสียกับการก าหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ เข้ามามีส่วนร่วมในการ
                   ก าหนดแนวเขตในทุกขั้นตอน คือ ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมในการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล

                   ร่วมรับผลประโยชน์ พร้อมทั้งร่วมรับผิดชอบในสิ่งที่เกิดขึ้น

                          ๒. ควรมีการปรับปรุงจ าแนกการใช้ที่ดินกันใหม่ตามการเพิ่มขึ้นของประชากร วิถีชีวิต อาชีพ และ

                   ความเป็นอยู่ของประชาชน และควรแก้ไขก าหนดแนวเขตใหม่ให้ถูกต้องตามความเป็นจริงให้รวดเร็ว

                          ๓. ปรับปรุงกฎหมายทั้ง ๓ ด้าน คือ ด้านข้อมูลข่าวสาร การมีส่วนร่วม และการกระจายอ านาจให้

                   เป็นกฎหมายฉบับเดียวกัน เพื่อให้เห็นความสอดคล้องกันของขั้นตอนทั้ง ๓ ด้าน

                          ๔. ให้ออกกฎหมายให้ชัดเจนว่า การด าเนินการของรัฐในการให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร

                   การมีส่วนร่วม และการกระจายอ านาจ หากไม่ด าเนินการถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ที่ส าคัญก็คือให้

                   บัญญัติไว้ด้วยว่า ผลการด าเนินการที่ไม่ได้ให้ประชาชนมีส่วนร่วม ให้ถือว่ากิจกรรมนั้นไม่สมบูรณ์ไม่มีผล
                   ในทางปฏิบัติ


                          ๕. ให้รัฐจัดตั้งส่วนราชการให้มีหน้าที่ในการจัดท ามาตรฐานระวางแผนที่และแผนที่รูปแปลงที่ดิน

                   ของรัฐ โดยเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดท าแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาหรือกฎกระทรวงเพื่อออกเป็น
                   กฎหมาย และท างานแทนส านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาในส่วนของแผนที่แนบท้าย ส าหรับในเรื่องการ

                   ยกร่างข้อความและการตรวจสอบข้อความและรูปแบบของกฤษฎีกา หรือกฎกระทรวง ส านักงาน

                   คณะกรรมการกฤษฎีกาก็ยังคงมีอ านาจเช่นเดิม

                          ๖. รัฐควรตั้งส านักงานการมีส่วนร่วมขึ้น โดยให้เป็นส่วนราชการมีฐานะเป็นกรม เพื่อดูแล

                   กฎหมายฉบับนี้ และเป็นการส่งเสริม ก ากับและติดตาม ทั้งท างานวิชาการและปฏิบัติงาน
   209   210   211   212   213   214   215   216   217   218   219