Page 177 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 177
๑๕๐
วิเคราะห์ได้ว่า : เมื่อมีการแก้ไขพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งมี
บทบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดครอบครองที่ดินในเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ซึ่งในการประกาศเดิมมีที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ
ที่ดินที่มีการครอบครอง เป็นการเพิ่มความเข้มข้นของกฎหมายที่กระทบสิทธิของประชาชน เป็นการละเมิด
สิทธิของประชาชนที่พึงมี
(๕) ค าร้องที่ ๑๑๕/๒๕๕๖ กรณีปัญหาการเตรียมการประกาศอุทยานฯ ถ้ าผาไททับที่ดินท ากิน ที่
อยู่อาศัยและป่าชุมชน พื้นที่ต าบลบ้านดง อ าเภอแม่เมาะ จังหวัดล าปาง
ปัญหา : จากปัญหาความเดือดร้อนของชุมชนจากการทับซ้อนพื้นที่ที่อยู่อาศัยและพื้นที่ท ากิน
ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ทั่วประเทศ โดยชุมชนไม่รับทราบรับทราบข้อมูลการด าเนินการของหน่วยงานรัฐ และ
รับทราบเมื่อรัฐได้ประกาศเขตอุทยานแห่งชาติทับซ้อนไปแล้ว เป็นเรื่องยากที่ประชาชนจะโต้แย้งเพื่อให้รัฐ
ปรับปรุงแก้ไขแนวเขตภายหลัง ท าให้ประชาชนกลายเป็นผู้ผิดกฎหมายถูกด าเนินคดี ยึดที่ดินท ากิน และ
พืชผลถูกท าลาย เป็นปัญหาที่ชุมชนในพื้นที่บ้านกลาง ต าบลบ้านดง อ าเภอแม่เมาะ จังหวัดล าปาง เกรงว่า
จะเกิดขึ้นกับชุมชน
วิเคราะห์ได้ว่า : การเตรียมการประกาศอุทยานแห่งชาติถ้ าผาไท ซึ่งแสดงให้เห็นว่า รัฐบาลและ
หน่วยงานรัฐได้ด าเนินการตรวจสอบแนวเขต ส ารวจพื้นที่ และตรวจสอบการทับซ้อนแนวเขตกับหน่วยงานอื่น
อย่างละเอียดรอบคอบและชัดเจน ท าให้กระบวนการเตรียมการประกาศอุทยานแห่งชาติถ้ าผาไท
ใช้ระยะเวลายาวนาน นับแต่ตั้งปี พ.ศ. ๒๕๓๒ จนถึงปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตาม การมีส่วนร่วม
ของประชาชนมิได้เป็นที่ยอมรับและระบุไว้เป็นระเบียบปฏิบัติ เพื่อร่วมก าหนดแนวเขตอุทยานแห่งชาติ
หรืออื่นๆ อย่างชัดเจน ทั้งนี้ การมีส่วนร่วมของประชาชนเกิดจากการตื่นตัวและเรียกร้องของประชาชน
มากกว่า
(๖) ค าร้องที่ ๓๗๒/๒๕๕๔ กรณีปัญหาชาวบ้านถูกกล่าวหาว่าบุกรุกพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติ
ทับลาน พื้นที่อ าเภอวังน้ าเขียว จังหวัดนครราชสีมา
ปัญหา : ปัญหาข้อขัดแย้งแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลานทับซ้อนแนวเขตปฏิรูปที่ดิน และการใช้
ประโยชน์ในที่ดินอ าเภอวังน้ าเขียว จังหวัดนครราชสีมา เป็นปัญหาที่ซับซ้อนและส่งผลกระทบต่อประชาชน
ในพื้นที่ จากปัญหาแนวเขตอุทยานแห่งชาติ โดยปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ประกาศทับซ้อนพื้นที่ชุมชนและ
เขตปฏิรูปที่ดิน ที่กรมป่าไม้ส่งมอบพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าวังน้ าเขียว และป่าเขาภูหลวงให้ส านักงาน
การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และก าหนดให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน ในปี พ.ศ. ๒๕๒๑
วิเคราะห์ได้ว่า : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ยังมิได้ด าเนินการปรับแนวเขตอุทยาน
แห่งชาติทับลานที่ประชาชนมีส่วนร่วมก าหนดแนวเขตใหม่ ที่จัดท าขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๐ เนื่องจากรัฐบาล
มีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๑ ยกเลิก มติคณะรัฐมนตรีก่อนหน้า รวมทั้งมติ
คณะรัฐมนตรีแก้ไขปัญหาแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๐ ในเขตป่า
เขาภูหลวง ที่มีการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติเพื่อน ามาปฏิรูปที่ดินแต่ปรากฏว่าพื้นที่ดังกล่าว ทับซ้อนกับ
พื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน และพื้นที่โซน C ท าให้ไม่สามารถให้สิทธิจากการปฏิรูปที่ดินได้ และต้อง