Page 175 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 175
๑๔๘
เพราะแต่ละหน่วยงานมีกฎหมายของตนเอง ซึ่งก่อให้เกิดปัญหา อาทิ พระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับป่าไม้
ที่ล้าสมัย และควรน ากฎหมายจ ากัดสิทธิการถือครองที่ดินมาใช้มากกว่าการใช้กฎหมายภาษีที่ดิน
ที่ก าลังจะประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งจะเป็นการผูกปัญหาใหม่และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการ
แก้ไขกฎหมาย การแก้ปัญหาแนวเขตที่ดินของรัฐ หากจะแก้ไขต้องให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมแก้ไขอย่างจริงจัง
ไม่ควรใช้นโยบายกว้างๆ เหมือนกันทั้งประเทศ เนื่องจากท าให้เกิดช่องว่าง มีการบิดเบือนข้อกฎหมาย
เพื่อเข้าข้างฝ่ายผู้มีอ านาจมากกว่าประชาชนส่วนใหญ่ รวมทั้ง ควรมีบทลงโทษทางกฎหมายเมื่อมีผู้กระท าผิด
นอกจากนี้ในการออกกฎระเบียบต่างๆ รัฐต้องประสานกับท้องถิ่นไม่ใช้กฎหมายอย่างเดียวในการแก้ไข
ปัญหาพื้นที่ท ากิน
(5) การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับที่ดินของรัฐต้องเร่งแก้ไข
ในระหว่างที่รัฐบาลมีอ านาจเต็มภายในปี พ.ศ. 2558 ควรเร่งจัดท าแผนแม่บทในการก าหนดเขตที่ดินของ
รัฐทุกแปลง โดยตั้งคณะท างานระดับจังหวัดให้เป็นผู้เสนอแนวทางและน าเข้าสภานิติบัญญัติออกเป็น
กฎหมาย คณะท างานควรประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐที่มีความรับผิดชอบเรื่องที่ดิน ผู้แทนของ
ภาคประชาชนในพื้นที่ที่มีปัญหา ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสบการณ์เรื่องที่ดิน และมอบให้ส านักงาน
ที่ดินจังหวัดเป็นฝ่ายเลขานุการของคณะท างาน และรองผู้ว่าราชการจังหวัดท าหน้าที่ประธานคณะท างาน
(รองผู้ว่าราชการจังหวัดที่ดูแลงานที่ดิน) รวมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้ทราบว่ามีคณะท างานชุด
ดังกล่าวเพื่อให้ประชาชนสามารถติดต่อฝ่ายเลขานุการในการเสนอปัญหาและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และ
ในการก าหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ ควรท าเป็นแนวถนนรอบแนวเขตของที่ดิน แต่ละหน่วยงานเพื่อแสดง
แนวเขตให้ชัดเจน
จากการศึกษาถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจากการก าหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ ข้อคิดเห็นของ
ประชาชน และการวิเคราะห์ข้อเท็จจริงจากพื้นที่กรณีศึกษาสรุปได้ ดังนี้
ตามที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนเกี่ยวกับที่ดินและ
ป่าไม้ พบว่า ปัญหาส่วนใหญ่เป็นปัญหาการทับซ้อนแนวเขตที่ดินของรัฐ กับที่ดินท ากินและอยู่อาศัยของ
ประชาชน การศึกษาได้เลือกกรณีค าร้องดังกล่าว จ านวน ๗ กรณีศึกษา โดยเน้นกรณีศึกษาในพื้นที่ป่าไม้
จ านวน ๖ กรณี และที่ดินสงวนหวงห้ามกับที่ดินสาธารณประโยชน์ จ านวน ๑ กรณี โดยศึกษาจาก
ค าร้องเรียนในพื้นที่กรณีศึกษา ประกอบ รายงานการตรวจสอบของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
รวมทั้งรายงานการตรวจสอบจากผู้ตรวจการแผ่นดิน และสภาผู้แทนประชาชน ทั้งข้อคิดเห็นของประชาชน
ในพื้นที่กรณีศึกษาทั้ง ๗ กรณี จากการจัดประชุมรับฟังความเห็น ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประมาณ ๓๕๐ คน
เป็นประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ ร่วมกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
(๑) ค าร้องที่ ๔๔๗/๒๕๔๗ การประกาศเขตป่าสงวนแห่งชาติและอุทยานแห่งชาติทับที่ดิน
ท ากินราษฎรบ้านตากแดด ต าบลยางหัก อ าเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี