Page 134 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 134

บทที่ 4

                            สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจากการก าหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ

                        ข้อคิดเห็นของประชาชน และการวิเคราะห์ข้อเท็จจริงจากพื้นที่

                                                        กรณีศึกษา







                          งานศึกษาในบทนี้ มีเป้าหมายน าเสนอข้อเท็จจริงและปัญหาที่เกิดขึ้นจากปัญหาการทับซ้อนแนวเขต
                   ที่ดินเขตอนุรักษ์กับที่ดินท ากินและอยู่อาศัยของประชาชน และที่ดินของรัฐประเภทอื่นๆ ที่รัฐจัดสรรให้กับ

                   ประชาชน ปัญหาข้อขัดแย้งในสิทธิการถือครองท าประโยชน์ และข้อคิดเห็นของประชาชนที่ประสบปัญหา
                   ในพื้นที่กรณีศึกษา ซึ่งได้ร้องเรียนถึงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ   ทั้งนี้ หลายปีที่ผ่านมา

                   คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนเกี่ยวกับที่ดินและป่าไม้เป็นจ านวนมาก
                   ข้อมูลจากคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้านที่ดินและป่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

                   (ข้อมูล ณ เดือนมกราคม ๒๕๕๗) จ านวน ๒๙๖ ค าร้อง พบว่า ปัญหาส่วนใหญ่เป็นปัญหาการทับซ้อน
                   แนวเขตที่ดินของรัฐ ๒๖๙ ค าร้อง คิดเป็นร้อยละ ๙๑ ของค าร้อง และเป็นปัญหาที่ดินเอกชน  ๒๗ ค าร้อง

                   คิดเป็นร้อยละ ๙ ของค าร้อง

                          ส าหรับปัญหาการทับซ้อนแนวเขตที่ดินของรัฐ จ านวน ๒๖๙ ค าร้อง แบ่งเป็นปัญหาการทับซ้อน

                   ที่ดินป่าไม้ ได้แก่ ป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ฯลฯ จ านวน ๘๘ ค าร้อง คิดเป็น
                   ร้อยละ ๓๒.๗ ใกล้เคียงกับปัญหาทับซ้อนแนวเขตที่ดินสาธารณประโยชน์ จ านวน ๘๖ ค าร้อง คิดเป็น
                   ร้อยละ ๓๒ และปัญหาทับซ้อนแนวเขตที่ดินรัฐอื่นๆ จ านวน ๙๕ ค าร้อง คิดเป็นร้อยละ ๓๕.๓ เช่น ที่ดิน

                   สงวนหวงห้ามส าหรับการใช้ประโยชน์ในราชการทหาร  แนวเขตที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน และอื่นๆ เป็นต้น

                   แม้ว่าปัญหาการทับซ้อนแนวเขตที่ดินของรัฐในเขตป่าไม้ และที่ดินสาธารณประโยชน์มีจ านวนค าร้อง
                   ใกล้เคียงกัน แต่พบว่าการทับซ้อนแนวเขตที่ดินของรัฐในเขตป่าไม้มีปัญหาความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์
                   ที่รุนแรงและประชาชนได้รับความเดือดร้อนเป็นจ านวนมาก


                          ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้ของรัฐ รวมประมาณ ๑๓๕.๔๗ ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ ๔๒ ของพื้นที่
                   ทั้งประเทศ (๓๒๐ ล้านไร่) แบ่งเป็น พื้นที่อนุรักษ์ ๖๑.๗ ล้านไร่ ป่าสงวนแห่งชาติ ๖๓.๒๕ ล้านไร่ และพื้นที่

                   ป่าไม้ถาวร ๑๐.๕๑ ล้านไร่ (กรมป่าไม้, 2555) ที่สาธารณประโยชน์ทั่วประเทศ มีประมาณ ๗ ล้านไร่
                   (ส านักจัดการที่ดินของรัฐ, 2556) โดยพบว่ามีปัญหาการทับซ้อนแนวเขตที่ดินในเขตอนุรักษ์กับที่ดินท ากิน

                   และที่อยู่อาศัยของประชาชน และที่ดินของรัฐประเภทอื่นๆ ที่รัฐจัดสรรให้กับประชาชน เช่น การทับซ้อน
                   แนวเขตระหว่างพื้นที่อุทยานแห่งชาติกับพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดิน ปัญหาเอกสารสิทธิในที่ดินทับซ้อนกับแนวเขต

                   ที่ดินหวงห้าม หรือแนวเขตหนังสือส าคัญส าหรับที่หลวง เป็นต้น

                          ดังนั้น การศึกษาครั้งนี้ได้เลือกกรณีค าร้องดังกล่าว จ านวน ๗ กรณีศึกษา โดยเน้นกรณีศึกษา

                   ในที่ป่าไม้ จ านวน ๖ กรณี และที่ดินสงวนหวงห้ามกับที่ดินสาธารณประโยชน์ จ านวน ๑ กรณี โดยมีเกณฑ์
   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139