Page 138 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 138

๑๑๑



                                       ต่อมาได้มีการเพิกถอนสภาพพื้นที่ ได้แก่ (๑) พระราชกฤษฎีกาเพิกถอนเขตรักษา

                   พันธุ์สัตว์ป่าสลักพระบางส่วน พ.ศ. ๒๕๒๐ (๒) กฎกระทรวง เพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาท าละเมาะ
                   บางส่วน พ.ศ. ๒๕๒๕ เนื้อที่ประมาณ ๑๑,๔๐๗ ไร่ และ (๓) พระราชกฤษฎีกาเพิกถอนการหวงห้ามที่

                   ราชพัสดุที่ได้หวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์ในราชการทหาร พ.ศ. ๒๕๒๙ เนื้อที่ประมาณ ๘๑,๐๖๒ ไร่
                   ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ขณะที่พระราชกฤษฎีกาเพิกถอนการหวงห้ามฯ ยังไม่แล้วเสร็จ ได้มีพระราช

                   กฤษฎีกาประกาศเขตอุทยานแห่งชาติศรีนครินทร์ พ.ศ. ๒๕๒๔ ทับซ้อนกับแนวเขตที่ดินตามพระราช
                   กฤษฎีกาเพิกถอนการหวงห้ามที่ราชพัสดุฯ ท าให้ประชาชนกลายเป็นผู้ผิดกฎหมาย และสูญเสียสิทธิในการ

                   ออกเอกสารสิทธิในที่ดิน ตามที่ควรได้รับการจัดสรรที่ดิน

                                       ปัญหาแนวเขตอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ ทับซ้อนพื้นที่รองรับการอพยพ
                   ประชาชน ที่ถูกอพยพจากเขื่อนศรีนครินทร์เป็นปัญหาเรื้อรังยาวนาน และไม่มีการแก้ไขปัญหา ท าให้

                   ประชาชนได้ร้องเรียนไปยังหน่วยงานต่างๆ เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และ
                   พันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้ตรวจการแผ่นดิน นายกรัฐมนตรี คณะกรรมการ

                   สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และสภาผู้แทนประชาชน

                                       การด าเนินการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานรัฐ

                                       ปัจจุบัน จังหวัดกาญจนบุรี คือ หน่วยงานที่มีบทบาทการแก้ไขปัญหาให้กับ

                   ประชาชน เนื่องจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมีหนังสือถึงกระทรวงมหาดไทย ให้ด าเนินการ
                   อพยพประชาชนอ าเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๗ และในปี พ.ศ. ๒๕๑๘

                   คณะกรรมการ จัดที่ดินแห่งชาติมีมติให้ด าเนินการจัดสรรที่ดิน และให้เริ่มอพยพประชาชนในปี
                   พ.ศ. ๒๕๑๙ - ๒๕๒๐ กระทั่งมีการประกาศอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ทับซ้อน

                   พื้นที่จัดสรรรองรับประชาชนที่ถูกอพยพตามพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนที่ราชพัสดุฯ พ.ศ. ๒๕๒๙
                   ซึ่งขณะนั้น หน่วยงานรัฐยังไม่ทราบว่าแนวเขตอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ทับซ้อนพื้นที่จัดสรร

                   เพราะหน่วยราชการโดยนายอ าเภอศรีสวัสดิ์ ลงนามออกหนังสือรับรองการท าประโยชน์ (น.ส.๓) ในพื้นที่
                   จัดสรรให้กับประชาชน ต าบลนาสวนบางส่วน ในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ - ๒๕๓๓ และในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ อีกด้วย


                                       ทั้งนี้ ประชาชนยังเข้าใจมาโดยตลอดว่าแนวเขตอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์
                   อยู่บริเวณขอบอ่างเก็บน้ าด้านตะวันออก มิได้มีแนวเขตล้ าทับพื้นที่จัดสรรเพื่อรองรับการอพยพประชาชน

                   ในปี พ.ศ. ๒๕๔๑ หน่วยงานกรมป่าไม้ โดยป่าไม้อ าเภอศรีสวัสดิ์ อนุญาตให้เคลื่อนย้ายไผ่รวกซึ่งเป็นไม้ที่
                   มิใช่ ไม้หวงห้ามที่ตัดฟันออกจากป่าโปร่งกลาย ต าบลนาสวน อ าเภอศรีสวัสดิ์ และอยู่นอกเขตป่าสงวน

                   แห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า (หนังสือรับรองไม้ที่มิใช่ไม้หวงห้าม ที่ กจ. ๐๙๑๑/๑๑
                   ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๑)

                                       กระทั่งเกิดกรณีบ้านสามหลังถูกด าเนินคดีบุกรุกอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์

                   ในปี พ.ศ. ๒๕๔๑ อุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ได้น ากรณีนี้มาพิจารณาว่า แนวเขตอุทยานฯ
                   อยู่บริเวณใด ประชาชนได้ให้ข้อมูลว่า ได้ถูกเจ้าหน้าที่เข้าจับกุมด าเนินคดีมาโดยตลอด จนกระทั่งล่าสุด
   133   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143