Page 135 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 135

๑๐๘



               การคัดเลือกพื้นที่กรณีศึกษา คือ (๑) กรณีปัญหากระจายอยู่ในภาคต่างๆ ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคใต้

               ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตก (๒) กรณีปัญหาข้อขัดแย้งกับประชาชนจ านวนมาก (๓) แนวเขต
               ที่ดินในเขตอนุรักษ์ทับซ้อนแนวเขตกับที่ดินที่รัฐจัดสรรให้ประชาชน (๔) พื้นที่ศึกษามีลักษณะทางนิเวศ

               เศรษฐกิจ การด ารงชีพของประชาชนที่แตกต่างกัน โดยศึกษาจากค าร้องเรียนในพื้นที่กรณีศึกษา ประกอบ
               รายงานการตรวจสอบของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ รวมทั้งรายงานการตรวจสอบจาก

               ผู้ตรวจการแผ่นดิน และสภาผู้แทนราษฎร ทั้งข้อคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่กรณีศึกษาทั้ง ๗ กรณี
               จากการจัดประชุมรับฟังความเห็น ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประมาณ ๓๕๐ คน เป็นประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ

               ร่วมกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง รวมถึงอ าเภอ เทศบาลต าบล องค์การบริหารส่วนต าบล และปกครอง
               ท้องที่ เป็นต้น

                       เนื้อหาในบทนี้ ในแต่ละกรณีศึกษาจะประกอบด้วยเนื้อหา ได้แก่ (๑) ปัญหาการทับซ้อนแนวเขต

               ที่ดินของรัฐในพื้นที่ ๗ กรณีศึกษา  (๒) ความเป็นมาและสภาพปัญหา ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการก าหนด
               แนวเขตที่ดินของรัฐ และกระบวนการแก้ไขปัญหาของรัฐที่ผ่านมา (๓) ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะการมี

               ส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหาทั้งในระดับพื้นที่และระดับนโยบายหรือกฎหมาย (๔) การส ารวจ
               ความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนโดยใช้แบบสอบถาม และ (๕) การสรุปวิเคราะห์ข้อเท็จจริงของ

               พื้นที่กรณีศึกษา ๗ กรณี ตามค าร้องถึงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยคณะผู้วิจัยได้คัดเลือก
               ข้อมูลตามค าร้องที่ก าหนด ดังนี้


                      (๑) ตามค าร้องที่ ๔๔๗/๒๕๔๗ การประกาศเขตป่าสงวนแห่งชาติและอุทยานแห่งชาติทับที่ดิน
               ท ากินราษฎรบ้านตากแดด ต าบลยางหัก อ าเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี (ราษฎรบ้านตากแดดเป็นชาวไทย

               เชื้อสายกะเหรี่ยง)
                      (๒) ตามค าร้องที่ ๔๓๑/๒๕๕๐ พื้นที่อ าเภอเวียงสระ อ าเภอนาสาร และอ าเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุ

               ราษฎร์ธานี กรณีอุทยานแห่งชาติใต้ร่มเย็น ประกาศเขตอุทยานทับที่ท ากิน ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ ๑๗
               ทั้งหมู่บ้าน หมู่ที่ ๒ หมู่ที่ ๗ หมู่ที่ ๑๑ หมู่ที่ ๑๔ และหมู่ที่ ๑๖ ต าบลบ้านส้อง อ าเภอเวียงสระบางส่วน

               และพื้นที่อ าเภอกาญจนดิษฐ์ ที่ราษฎรท าประโยชน์มาก่อนทั้งสิ้น โดยไม่ได้มีการประกาศให้ราษฎรในพื้นที่
               ทราบมาก่อน

                      (๓) ตามค าร้องที่ ๑๖๘/๒๕๕๓ พื้นที่ต าบลพนางตุง อ าเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง กรณีประกาศ
               เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยทับซ้อนเอกสารสิทธิที่ดินราษฎร ๒ หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ ๔ และหมู่ที่ ๕ ต าบล

               พนางตุง อ าเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง จ านวน ๓,๐๐๐ ไร่
                      (๔) ตามค าร้องที่ ๓๗๒/๒๕๕๔ พื้นที่อ าเภอวังน้ าเขียว จังหวัดนครราชสีมา กรณีปัญหาชาวบ้าน

               ถูกกล่าวหาว่าบุกรุกพื้นที่เขตอุทยานฯ ในอ าเภอวังน้ าเขียว
                      (๕) ตามค าร้องที่ ๒๖๘/๒๕๕๕ พื้นที่ต าบลนาสวนและด่านแม่แฉลบ อ าเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัด

               กาญจนบุรี กรณีปัญหาการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติทับซ้อนกับแนวเขตพระราชกฤษฎีกาเพิกถอน
               แนวเขตพื้นที่หวงห้ามที่ทหาร พ.ศ. ๒๔๘๑
   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139   140