Page 137 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 137
๑๑๐
4.๑.๑ กรณีแนวเขตอุทยานแห่งชาติศรีนครินทร์ทับซ้อนกับแนวเขตพื้นที่เพิกถอน
การหวงห้ามที่ราชพัสดุที่ได้หวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์ในราชการทหาร
พื้นที่ต าบลนาสวนและด่านแม่แฉลบ อ าเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี
(๑) ปัญหาการทับซ้อนแนวเขตที่ดินของรัฐในพื้นที่
กรณีศึกษานี้ มีปัญหาการทับซ้อนแนวเขตอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์กับ
แนวเขตพื้นที่ที่เพิกถอนการหวงห้ามที่ราชพัสดุที่ได้หวงห้ามไว้เพื่อประโยชน์ในราชการทหาร ซึ่งเป็นพื้นที่
จัดสรรให้กับประชาชนที่ถูกอพยพจากพื้นที่ก่อสร้างเขื่อนศรีนครินทร์ เนื้อที่ประมาณ ๘๑,๐๖๒ ไร่
จากการประกาศอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๔ นั้น เกิดขึ้นหลังจากมีการอพยพ
ประชาชน ไปอยู่ในพื้นที่จัดสรรแล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ - ๒๕๒๐ ทั้งนี้ การจัดท าแนวเขตตามแผนที่
แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์นั้น เพื่อเร่งรัดให้มีการประกาศเป็นอุทยาน
แห่งชาติโดยเร็วโดยมิได้มีการส ารวจรังวัดสภาพพื้นที่จริง เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนการหวงห้ามฯ
ในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ท าให้เกิดปัญหาการทับซ้อนแนวเขตระหว่างแนวเขตอุทยานแห่งชาติ กับแนวเขตพื้นที่
เพิกถอนการหวงห้ามฯ ส่งผลให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่จัดสรรดังกล่าว กลายเป็นผู้กระท าผิดกฎหมาย
และบุกรุกพื้นที่อุทยานแห่งชาติ
จากการตรวจสอบข้อเท็จจริง ของหน่วยงานและสถาบันผู้เชี่ยวชาญด้านแผนที่
ได้แก่ ส านักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) และกรมแผนที่ทหาร พบว่า
แนวเขตอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ตามแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาฯ พ.ศ. ๒๕๒๔ มีค่าพิกัด
ภูมิศาสตร์ (Latitude/Longitude) ไม่สอดคล้องกับค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์หรือสภาพภูมิประเทศจริง และ
หากปรับแนวเขตตามพิกัดทางภูมิศาสตร์แล้ว แนวเขตอุทยานฯ จะไม่ทับซ้อนกับแนวเขตพื้นที่เพิกถอน
การหวงห้ามฯ พ.ศ. ๒๕๒๙ กรณีปัญหานี้จึงเป็นปัญหาต่อเนื่องยาวนาน ส่งผลให้ประชาชนได้รับ
ความเดือดร้อนจ านวนมาก ถูกจับกุมด าเนินคดี ซึ่งภาครัฐไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้เป็นที่ยุติได้
(๒) ความเป็นมาและสภาพปัญหา ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการก าหนดแนวเขตที่ดิน
ของรัฐ และกระบวนการแก้ไขปัญหาของรัฐที่ผ่านมา
ความเป็นมาและสภาพปัญหา
พื้นที่ส่วนหนึ่งของต าบลนาสวนและด่านแม่แฉลบ อ าเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัด
กาญจนบุรีเป็นพื้นที่ที่ถูกน้ าท่วมจากการสร้างเขื่อนศรีนครินทร์ ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๒๓
และคณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ เห็นชอบให้ตั้งคณะกรรมการพิจารณาหาพื้นที่
อพยพประชาชนอ าเภอศรีสวัสดิ์ ที่ประสบปัญหาถูกน้ าท่วมหลังจากสร้างเขื่อนศรีนครินทร์ โดยน าที่ดิน
ไปจัดสรรให้กับประชาชนที่อพยพ แต่เนื่องจากพื้นที่รองรับเป็นพื้นที่ที่มีการประกาศหวงห้ามเพื่อใช้
ในราชการทหาร ตามพระราชกฤษฎีกาก าหนดเขตหวงห้ามที่ดิน พ.ศ. ๒๔๘๑ พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ และ
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า จ าเป็นต้องมีกฎหมายเพิกถอนสภาพที่สงวนหวงห้ามเสียก่อน