Page 139 - รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ
P. 139

๑๑๒



               เจ้าหน้าที่อุทยานฯ เข้าตรวจยึดจับกุม และน าป้ายอุทยานฯ มาปักในพื้นที่ประชาชนหมู่ ๔ ต าบลนาสวน

               จ านวน ๑๓๔ ราย ประชาชนจึงร้องเรียนไปยังหน่วยงานต่างๆ และน ามาสู่การตรวจสอบแนวเขตอุทยาน
               แห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ ตามแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาฯ พ.ศ. ๒๕๒๔ และแนวเขตพื้นที่

               ตามพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนการหวงห้ามที่ราชพัสดุฯ พ.ศ. ๒๕๒๙ ซึ่งเป็นพื้นที่จัดสรรในการรองรับการ
               อพยพของประชาชน

                                   แม้ว่าจะมีการตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดินท ากินของประชาชนอ าเภอ

               ศรีสวัสดิ์  ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ก็ตาม แต่ไม่สามารถยุติปัญหา หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหา
               ความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ได้ ในฝ่ายประชาชนก็ยังมีความเห็นแย้งกับมติของคณะกรรมการฯ

               ที่ยอมรับว่า แนวเขตอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ทับซ้อนกับพื้นที่ตามพระราชกฤษฎีกาเพิกถอน
               การหวงห้ามที่ราชพัสดุฯ พ.ศ. ๒๕๒๙ เพราะทางฝ่ายประชาชนเห็นว่า ประธานคณะกรรมการฯ มิได้มี

               การพิจารณาเอกสารที่ทางฝ่ายประชาชนพยายามน ามาโต้แย้งว่า แนวเขตอุทยานแห่งชาติศรีนครินทร์มิได้
               ทับซ้อนกับพื้นที่ตามพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนการหวงห้ามที่ราชพัสดุฯ พ.ศ. ๒๕๒๙  เนื้อที่ประมาณ

               ๘๑,๐๖๒ ไร่ และมติดังกล่าวไม่มีความโปร่งใสและขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนที่เพียงพอ

                                   ผลการตรวจสอบจากสภาผู้แทนประชาชน และผู้ตรวจการแผ่นดิน

                                   จากการร้องเรียนของประชาชนอ าเภอศรีสวัสดิ์ต่อสภาผู้แทนประชาชน ในปี พ.ศ.

               ๒๕๕๖ และผู้ตรวจการแผ่นดิน ในปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ผลการตรวจสอบของสภาผู้แทนประชาชน และ
               ผู้ตรวจการแผ่นดิน ในเรื่องแนวเขตอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ ตามแผนที่แนบท้ายพระราช

               กฤษฎีกาฯ พ.ศ. ๒๕๒๔ และข้อเสนอแนะการแก้ไขปัญหา สรุปผลได้ ดังนี้

                                   ๑) แนวเขตอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ ตามแผนที่แนบท้ายพระราช

               กฤษฎีกาฯ พ.ศ. ๒๕๒๔ ผลการตรวจสอบของสภาผู้แทนราษฎร พบว่า “แนวเขตอุทยานแห่งชาติเขื่อน
               ศรีนครินทร์ ตามแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาฯ พ.ศ.   ๒๕๒๔ มีข้อมูลค่าพิกัดภูมิศาสตร์

               (Latitude/Longitude) ไม่สอดคล้องกับข้อมูลทางภูมิศาสตร์” ตามแผนที่ภูมิศาสตร์ของกรมแผนที่ทหาร
               แต่สอดคล้องกับผลการตรวจสอบของผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่อ้างอิงข้อมูลศึกษาของส านักงานพัฒนา

               เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)  ซึ่งพบว่า “เส้นแนวเขตอุทยานฯ อาศัยค่าพิกัด
               ที่แสดงอยู่ด้านข้างของ แผนที่ ไม่สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวขอบอ่าง

               คลาดเคลื่อนไปจากสภาพ ภูมิประเทศ ๗ กิโลเมตร รวมถึงแนวล าน้ าที่คลาดเคลื่อนไปจากสภาพ
               ภูมิประเทศ ๔ กิโลเมตร” และแนวเขตยังล้ าเข้าไปในจังหวัดอุทัยธานีและสุพรรณบุรี ท าให้พื้นที่จัดสรร

               ตามพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนการหวงห้ามฯ  พ.ศ. ๒๕๒๙ ทับซ้อนอยู่ในแนวเขตอุทยานแห่งชาติเขื่อน
               ศรีนครินทร์ แต่หากใช้การยึดโยงค่าพิกัดโดยอาศัยสภาพภูมิศาสตร์ พื้นที่จัดสรรทั้งหมดอยู่นอกเขตอุทยานฯ

                                   ๒)   ส านักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เห็นว่าค่าพิกัดที่แสดงอยู่ข้างแผนที่มี

               ความคลาดเคลื่อน และรายละเอียดภูมิประเทศไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงในภาคพื้นดิน ท าให้รูปแผนที่
               มีลักษณะผิดไปจากข้อเท็จจริง เห็นควรให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกระทรวง
   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144