Page 16 - สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา กรณีขอให้ตรวจสอบและดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการเก็บเงินบำรุงการศึกษาตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
P. 16

เขต ๒ ได้มีหนังสือให้โรงเรียนสามารถจัดเก็บค่าบำารุงการศึกษา ประมาณ ๔,๐๐๐ บาท ต่อปี แต่ละ
                    โรงเรียนจึงได้มีหนังสือเรียกเก็บเงินค่าใช้จ่ายในการเรียนการสอนแกนกลางนอกหลักสูตรปกติ

                    โดยเป็นการเรียกเก็บเงินค่าบำารุงการศึกษา และเงินค่าจัดการการศึกษานอกหลักสูตร ประมาณ
                    ๒,๐๐๐ บาทต่อเทอม ขึ้นอยู่กับแต่ละโรงเรียน ซึ่งใบเสร็จที่โรงเรียนออกให้มีการระบุว่า เงินค่าบำารุง

                    การศึกษา ซึ่งผู้ร้องเห็นว่า โรงเรียนใช้อำานาจใดในการออกคำาสั่งดังกล่าว และในระยะเวลา ๓ ปีที่ผ่านมา
                    การกระทำาดังกล่าว การเรียกเก็บเงินสร้างความเดือดร้อนให้กับนักเรียนและผู้ปกครอง

                                  ปัจจุบัน กระทรวงศึกษาธิการได้ยกเลิกประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เงินบำารุง
                    การศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๑ จากการใช้

                    ประกาศฉบับดังกล่าว ซึ่งทำาให้เกิดความเสียหายขึ้นและเป็นการกระทำาความผิดสำาเร็จ โดยผู้นำา
                    ประกาศไปใช้ต้องได้รับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗ และมาตรา ๑๔๘ ซึ่งผู้บริหาร

                    โรงเรียนอาจต้องถูกดำาเนินคดี
                                  จากกรณีร้องเรียนข้างต้น มีผู้ปกครองโรงเรียนอื่นยื่นเรื่องร้องเรียนต่อกรมสอบสวน

                    คดีพิเศษ (DSI)  ต่อมา ได้มีการส่งเรื่องต่อให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
                    (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) โดยอยู่ระหว่างการพิจารณา

                                  ผู้ร้องเห็นว่า หากประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การเก็บเงินบำารุงการศึกษา
                    ของสถานศึกษาสังกัดสำานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับลงวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๓

                    ได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาก็เป็นการกระทำาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากผู้ร้องเห็นว่า
                    ไม่มีกฎหมายฉบับใดรองรับให้สามารถเรียกเก็บเงินค่าบำารุงการศึกษาได้  และเป็นการกระทำาที่ขัดหรือ

                    แย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๔๙ และมาตรา ๘๐

                                  ก�รร้องเรียนต่อหน่วยง�นอื่นและผลก�รดำ�เนินก�ร

                                  ๑.  สภาทนายความได้มีหนังสือ ที่ สท. ๘๐๘/๒๕๕๓ ลงวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๓

                    แจ้งผลการอุทธรณ์ โดยพิจารณาแล้วเห็นว่า การดำาเนินคดีอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗
                    และมาตรา ๑๔๘ ต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ดำารงตำาแหน่งระดับสูงที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยทุจริต

                    หรือฉ้อราษฎร์บังหลวงในการปฏิบัติหน้าที่ราชการนั้น อยู่ในขอบเขตอำานาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
                    ป.ป.ช. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๕๐ วรรคแรก (๓) ประกอบ

                    มาตรา ๒๖ (๑) และ (๒) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม
                    การทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒  สภาทนายความไม่มีอำานาจหน้าที่ตามกฎหมายที่จะดำาเนินคดีอาญาดังกล่าวได้

                    ประกอบกับมาตรา ๗๘ แห่งพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. ๒๕๒๘  และข้อบังคับสภาทนายความ
                    ว่าด้วยการช่วยเหลือประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๙ ได้กำาหนดให้ประชาชนผู้มีสิทธิได้รับการช่วยเหลือทาง

                    กฎหมายต้องเป็นผู้ยากไร้และไม่ได้รับความเป็นธรรม เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องมีคุณสมบัติต้องด้วย
                    บทบัญญัติมาตราดังกล่าว อุทธรณ์ของผู้ร้องที่ขอให้สภาทนายความรับให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย

                    ในคดีอาญาดังกล่าว จึงไม่สามารถกระทำาได้  และไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำาสั่งเดิม จึงมีคำาสั่งยกอุทธรณ์
                    และยืนตามคำาสั่งของสำานักงานคดีปกครองที่ไม่รับให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายทุกประการ



                                                                                                          15

                                                                 สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา กรณีขอให้ตรวจสอบและดำาเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ
                                                                ที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการเก็บเงินบำารุงการศึกษาตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21