Page 14 - สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา กรณีขอให้ตรวจสอบและดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการเก็บเงินบำรุงการศึกษาตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
P. 14
๓.๒ คณะอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่
ไม่เป็นธรรม ได้มีหนังสือเชิญผู้ร้องเข้าร่วมประชุมเพื่อชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติม ในการประชุมคณะอนุกรรมการฯ
ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๔ และเชิญผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทน
สำานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒ และผู้แทนโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา
เข้าร่วมประชุม เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริง ในการประชุมคณะอนุกรรมการฯ ครั้งที่ ๑๖/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๑๐
มิถุนายน ๒๕๕๔ แต่เนื่องจากผู้แทนโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ บดินทรเดชา ติดภารกิจ จึงขอเลื่อนการ
ชี้แจงข้อเท็จจริงไป ในการประชุมคณะอนุกรรมการฯ ครั้งที่ ๑๗/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๔
ดังนี้
๑) ผู้ร้องและผู้ที่ได้รับผลกระทบ ชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมและส่งเอกสารที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ดังนี้
ผู้ร้องเคยเป็นคณะทำางานในการร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญ เมื่อปี ๒๕๔๐ โดยมาตรา ๔๓
บัญญัติว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะ
ต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย” ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับมาตรฐานสิทธิทาง
การศึกษา ต่อมา ได้มีการตราพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๑๐ บัญญัติว่า “การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาส
เสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย” โดยในระหว่างปี ๒๕๔ - ๒๕๔๓ กระทรวงศึกษาธิการไม่มีการเรียกเก็บเงินค่าบำารุง
การศึกษาแต่อย่างใด โดยเด็กได้รับสิทธิทางการศึกษาขั้นพื้นฐานสิบสองปีซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ
และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ต่อมา เมื่อปลายปี ๒๕๔๓ กระทรวงศึกษาธิการได้มีการใช้มาตรา ๕๘ (๒)
ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ บัญญัติว่า “ให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ
และสถาบันสังคมอื่น ระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา โดยเป็นผู้จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
บริจาคทรัพย์สิน และทรัพยากรอื่นให้แก่สถานศึกษา และมีส่วนร่วมรับภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษา
ตามความเหมาะสมและความจำาเป็น” และมาตรา ๕๘ วรรคสอง บัญญัติว่า “ทั้งนี้ ให้รัฐและองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น ส่งเสริมและให้แรงจูงใจในการระดมทรัพยากรดังกล่าว โดยการสนับสนุน
การอุดหนุน และใช้มาตรการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษี ตามความเหมาะสมและความจำาเป็น ทั้งนี้
ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำาหนด” ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายกำาหนดในเรื่องนี้ สถานศึกษาจึงไม่
สามารถระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาได้
สาเหตุที่ผู้ร้องฟ้องคดี คือ กระทรวงศึกษาธิการได้มีการออกประกาศกระทรวง
ศึกษาธิการ เรื่อง เงินบำารุงการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ ๒๗ มิถุนายน
๒๕๕๑ โดยอาศัยมาตรา ๕ และมาตรา ๕๘ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ และมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ
กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ ซึ่งผู้ร้องเห็นว่าการเรียกเก็บเงินบำารุงการศึกษาเป็นการออกคำาสั่ง
ที่กระทบต่อสิทธิของประชาชน โดยตามมาตรา ๕ ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
13
สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา กรณีขอให้ตรวจสอบและดำาเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการเก็บเงินบำารุงการศึกษาตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ