Page 19 - สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา กรณีขอให้ตรวจสอบและดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการเก็บเงินบำรุงการศึกษาตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
P. 19

การเก็บเงินบำารุงการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                 ฉบับลงวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๓ จึงมีผลบังคับใช้โดยไม่ต้องนำาไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา

                               ผู้ร้องได้มีหนังสือลงวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ขอให้ทบทวนคำาวินิจฉัย

                               ๓. ประธานกรรมาธิการการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล
                 วุฒิสภา โดยผู้ร้องมีหนังสือลงวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๕๓

                               ๔. นายกรัฐมนตรี โดยผู้ร้องมีหนังสือลงวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๓

                               ๕. คณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ สภาผู้แทน
                 ราษฎร โดยผู้ร้องมีหนังสือลงวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๓

                               ๖. สำานักพระราชวัง โดยผู้ร้องมีหนังสือถวายฎีกา ลงวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๓

                               ๗. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ  โดยผู้ร้องมีหนังสือ

                 ลงวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๓ และมีหนังสือส่งเอกสารเพิ่มเติมในความเป็นนิติบุคคลของสถานศึกษาที่
                 ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ลงวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔

                           ๒)  ผู้แทนกระทรวงศึกษ�ธิก�ร  โดยกระทรวงศึกษาธิการได้มอบหมายให้ผู้แทนสำานักงาน

                 คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเข้าร่วมการประชุมเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงและส่งเอกสารที่เกี่ยวข้อง
                 สรุปได้ดังนี้

                               ด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๔๙ วรรคหนึ่ง
                 กำาหนดให้บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่าง

                 ทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ซึ่งในการจัดการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                 มีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีขีดความ

                 สามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะการเพิ่มศักยภาพของผู้เรียนให้สูงขึ้น สามารถดำารงชีวิตอย่างมี
                 ความสุขได้บนพื้นฐานของความเป็นไทยและความเป็นสากล  รวมทั้งพระราชบัญญัติการศึกษา

                 แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒  และที่แก้ไขเพิ่มเติมกำาหนดให้มีการระดมทรัพยากรเพื่อจัดการศึกษา และให้
                 บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน

                 องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น มีส่วนร่วมในการจัด
                 การศึกษา  กอปรกับกระทรวงศึกษาธิการได้ออกกฎกระทรวงกำาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจาย

                 อำานาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๐  โดยให้สถานศึกษามีอำานาจในการจัดการเรียน
                 การสอนและการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา  ดังนั้น การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนของแต่ละ

                 สถานศึกษาย่อมมีความแตกต่างกัน ตามความต้องการและความเหมาะสมของท้องถิ่น แต่เป็นไปด้วย
                 ความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งขอบข่ายลักษณะการจัดการเรียนการสอน

                 เสริมนอกหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย
                               (๑)  จัดหลักสูตรที่มีเนื้อหาสาระมากกว่าปกติในรายวิชานั้น เช่น การเรียนการสอน

                 ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ เป็นภาษาอังกฤษ (English Program : EP หรือ Mini English




            18

            สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา กรณีขอให้ตรวจสอบและดำาเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ
            ที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการเก็บเงินบำารุงการศึกษาตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24