Page 39 - สิทธิในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง กรณีการนำตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
P. 39

เป็นข่าว  โดยมีการจัดสัมมนาร่วมกับสมาชิกอยู่หลายครั้งเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจริยธรรม
                 ของผู้ประกอบวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์

                               จากการดำาเนินงานในตำาแหน่งอุปนายกฝ่ายวิชาการสภาทนายความทำาให้ได้มีโอกาส
                 ร่วมการประชุมคณะกรรมการ ๔ ฝ่าย  ซึ่งประกอบด้วย ศาล อัยการ ตำารวจ และสภาทนายความ

                 ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการ ๔ ฝ่าย  ครั้งหนึ่งมีประเด็นเรื่องที่ผู้สื่อข่าวละเมิดสิทธิมนุษยชน
                 โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิเด็ก ซึ่งจากการประกาศใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖  พระราช-

                 บัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำาด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐  พระราชบัญญัติป้องกันและ
                 ปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑  และพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณา

                 คดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๓  โดยในกฎหมายดังกล่าวจะมีบทบัญญัติในการลงโทษผู้ที่
                 เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเด็ก ในเรื่องของความรุนแรงในครอบครัว การค้ามนุษย์ และการเผยแพร่

                 คำาวินิจฉัยหรือพิพากษาของศาลที่เกี่ยวข้องที่ส่งผลกระทบต่อเด็กหรือครอบครัว  แต่ปรากฏว่า
                 สื่อมวลชนโดยส่วนใหญ่ก็ยังคงฝ่าฝืนกฎหมายอยู่ตลอดเวลา  โดยที่ประชุมในวันนั้นมีความเห็นว่า

                 สาเหตุที่ยังคงมีการกระทำาที่ฝ่าฝืนกฎหมาย เนื่องจากยังไม่มีตัวอย่างการลงโทษที่ชัดเจน ซึ่งข้อมูลที่ได้
                 จากการประชุมในวันนั้น เมื่อมีการจัดสัมมนาร่วมกับสมาชิกผู้ประกอบวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ก็ได้

                 แจ้งให้สมาชิกได้รับทราบ ทำาให้สมาชิกและสื่อมวลชนมีความระมัดระวังในการนำาเสนอข่าวมากยิ่งขึ้น
                               พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว

                 พ.ศ. ๒๕๕๓ มาตรา ๗๖  บัญญัติว่า “เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำา
                 ความผิด  ห้ามมิให้เจ้าพนักงานผู้จับกุมเด็กหรือเยาวชน หรือพนักงานสอบสวนจัดให้มีหรืออนุญาต

                 ให้มีหรือยินยอมให้มีการถ่ายภาพหรือบันทึกภาพเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทำาความผิด
                 เว้นแต่เป็นประโยชน์เพื่อการสอบสวน”  ซึ่งจากบทบัญญัติดังกล่าวจะเห็นได้ว่ามีการคุ้มครองในเรื่อง

                 ของการถ่ายภาพเด็กหรือเยาวชน โดยในกรณีที่สื่อมวลชนหรือผู้สื่อข่าวหรือช่างภาพที่ต้องถ่ายภาพ
                 ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำาเสนอบรรณาธิการนั้น  ในส่วนนี้สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยได้มีการประชุม

                 สัมมนาร่วมกับบรรณาธิการเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเรื่องของการกระทำาที่ไม่เป็นการฝ่าฝืน
                 กฎหมายและไม่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ในการนำาเสนอข่าวของโทรทัศน์ซึ่งต้องมีความรวดเร็ว

                 ทำาให้ในบางครั้งอาจเกิดความผิดพลาดขึ้นได้  โดยมีตัวอย่างรายการข่าวรายการหนึ่งที่ถ่ายภาพเด็ก
                 กระทำาความผิดในเรื่องของการทำาร้ายร่างกายหรือพยายามฆ่า โดยผู้สื่อข่าวพยายามถ่ายภาพ

                 ด้านหลังของเด็ก  แต่เนื่องจากเด็กที่กระทำาความผิดรายนี้มีอัตลักษณ์พิเศษ คือ ระเบิดหูและใส่
                 ต่างหูพิเศษ  ซึ่งหากผู้ที่ใกล้ชิดได้เห็นการนำาเสนอข่าวดังกล่าวก็จะทำาให้ทราบได้ทันทีว่าเด็กคนนี้

                 คือใคร  และในบางครั้งกรณีข่าวการข่มขืนกระทำาชำาเราเด็ก โดยไม่ปรากฏภาพของเด็กหรือครอบครัว
                 แต่ปรากฏว่ามีการถ่ายภาพโรงเรียนที่เด็กเรียนอยู่  จึงทำาให้เกิดประเด็นปัญหาในการบ่งชี้ตัวตนหรือ

                 การที่ทำาให้คนอื่นรู้ได้ว่าบุคคลนั้นคือใคร  ซึ่งสิ่งเหล่านี้สื่อมวลชนจะต้องมีความระมัดระวังและมี
                 ความรอบคอบในการกระบวนการตรวจสอบและในการนำาเสนอข่าว  เพื่อมิให้เกิดการละเมิด

                 สิทธิมนุษยชน  และในบางครั้งอาจมีภาพข่าวที่หลุดออกไป  ตัวอย่างเช่นกรณีที่ได้มีการร้องเรียนต่อ




            38

            สิทธิในกระบวนการยุติธรรม และสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง
            กรณีการนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ และการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44