Page 38 - สิทธิในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง กรณีการนำตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
P. 38
๓.๓ การจัดสัมมนา เรื่อง “การนำาผู้ต้องหาในคดีอาญาไปชี้ที่เกิดเหตุ ประกอบคำารับสารภาพ
และแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ทำาอย่างไรไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน” เมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๕
ณ ห้องเสวนา ชั้น ๖ สำานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สังคม
เกิดความรู้และมีความเข้าใจในเรื่องสิทธิของผู้ต้องหาที่ต้องได้รับการส่งเสริม ปกป้อง และคุ้มครอง
ตามหลักสิทธิมนุษยชนและเพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
๒๕๕๐ และพันธกรณีระหว่างประเทศที่ให้การรับรองและคุ้มครอง รวมทั้งเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยน
ความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องสิทธิในกระบวนการยุติธรรม โดยนำาผลสรุปที่ได้จากการสัมมนา
จัดทำาเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ซึ่งมีผู้เข้าร่วมสัมมนาจาก
หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องกับการดำาเนินงานในกระบวนการ
ยุติธรรม และสื่อมวลชน จำานวนทั้งสิ้น ๑๔๗ คน ในการสัมมนาดังกล่าวได้มีการแสดงความคิดเห็น
ของผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้เข้าร่วมการสัมมนาได้มี
การอภิปรายร่วมกันอย่างกว้างขวาง สรุปได้ ดังนี้
ผู้แทนสื่อมวลชน ได้แสดงความคิดเห็น สรุปได้ ดังนี้
สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยเกิดขึ้นจากความสมัครใจ และตามที่รัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๔๖ ได้มีบทบัญญัติสนับสนุนการจัดตั้งกลไก
ควบคุมกันเองทางด้านจริยธรรมขององค์กรวิชาชีพทางด้านกิจการวิทยุกระจายเสียงและกิจการวิทยุ
โทรทัศน์ รวมทั้งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๑
มาตรา ๓๙ ยังส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชนที่เกี่ยวกับกิจการ
กระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เพื่อทำาหน้าที่จัดทำามาตรฐานทางจริยธรรมของการประกอบอาชีพ
หรือวิชาชีพและควบคุมการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพกันเองภายใต้มาตรฐานทางจริยธรรม โดยการ
ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งองค์กรอิสระทำาหน้าที่ควบคุมกันเองในหมู่ผู้ประกอบวิชาชีพข่าววิทยุกระจาย
เสียงและวิทยุโทรทัศน์ เพื่อส่งเสริมเสรีภาพ ความรับผิดชอบ สถานภาพผู้ประกอบวิชาชีพและกิจการ
วิทยุกระจายสียงและวิทยุโทรทัศน์ ตลอดจนส่งเสริมสนับสนุนสิทธิการใช้สื่อกระจายเสียงและวิทยุ
โทรทัศน์ เพื่อการรับรู้ข่าวสาร และการแสดงความคิดเห็นของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยผู้ประกอบวิชาชีพข่าววิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ได้
ลงนามร่วมกันในธรรมนูญสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม
ผู้ประกอบวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ให้มีความรับผิดชอบและปฏิบัติตามหลักจริยธรรมแห่งวิชาชีพ
เพื่อผดุงเกียรติและศักดิ์ศรีของสมาชิก ผู้ประกอบวิชาชีพข่าว และผู้ปฏิบัติงานข่าว และส่งเสริมและ
พัฒนาการประกอบวิชาชีพข่าววิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
จากนั้นได้มีการกำาหนดข้อบังคับสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ว่าด้วยจริยธรรม
แห่งวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยหมวด ๒ กำาหนดในเรื่องของจริยธรรมของวิทยุ
และโทรทัศน์ ข้อ ๗ (๕) ระบุว่า การนำาเสนอหรือเผยแพร่ข่าวสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องต้องคำานึงถึง
สิทธิมนุษยชน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และไม่เป็นการซ้ำาเติมความทุกข์และโศกนาฏกรรมแก่ผู้ที่ตก
37
สิทธิในกระบวนการยุติธรรม และสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง
กรณีการนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ และการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน