Page 37 - สิทธิในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง กรณีการนำตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
P. 37

(๑)  เรื่องที่ได้รับคำาร้องเรียนจากผู้เสียหายตามข้อ ๒๐ หรือ
                               (๒)  เรื่องที่คณะกรรมการเห็นว่าเป็นเรื่องสำาคัญ หรือมีเหตุอันควรสงสัยเกี่ยวกับ

                 ข้อความ ภาพ หรือเสียงที่ปรากฏในสถานีหรือรายการที่เป็นสมาชิก หรือจากพฤติกรรมของผู้ประกอบ
                 วิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ที่สังกัดสมาชิก ขัดต่อข้อบังคับสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยว่าด้วย

                 จริยธรรมแห่งวิชาชีพ”
                               ที่ผ่านมาคณะกรรมการสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยได้มีการหยิบยกเรื่อง

                 เพื่อพิจารณา เพียง ๑ เรื่อง ซึ่งเรื่องดังกล่าวได้ใช้วิธีการตักเตือน และได้มีการประชุมคณะอนุกรรมการ
                 ชุดต่างๆ เพื่อร่วมกันวางแผนและกำาหนดทิศทางในการดำาเนินงานต่อไป  ทั้งนี้ สภาวิชาชีพข่าววิทยุ

                 และโทรทัศน์ไทยยินดีที่จะทำางานร่วมกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการทำางานเพื่อเป็น
                 ประโยชน์ต่อสาธารณชนต่อไป

                               จากการที่รัฐบาลได้ประกาศนโยบายปฏิรูปประเทศไทย โดยได้มีการกำาหนดนโยบาย
                 ให้มีการปฏิรูปสื่อ มีการจัดตั้งคณะทำางานปฏิรูปสื่อ โดยสื่อมวลชนไม่ยอมรับ  ซึ่ง ๔ สมาคมวิชาชีพสื่อ

                 ประกอบด้วย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
                 สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ได้ร่วมกันจัดตั้งคณะกรรมการ

                 พัฒนาส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและความรับผิดชอบสื่อมวลชน (คพส.)  โดยมี ๕ ภารกิจ คือ ปฏิรูปสื่อ –
                 ขจัดปัญหา – ควบคุมกันเอง – ทำาหลักสูตรพัฒนาสื่อ – พัฒนาองค์กรการศึกษาและเฝ้าระวัง

                               ในการกำาหนดข้อบังคับจริยธรรม โดยบางสถานีได้มีการกำาหนดข้อบังคับของตนเอง
                 เช่น การกำาหนดจริยธรรมและจรรยาบรรณด้านข่าวของ บริษัท อสมท จำากัด (มหาชน)  ข้อบังคับ

                 ด้านจริยธรรมของวิชาชีพของพนักงานไทยพีบีเอส  และประมวลจริยธรรมสถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์
                 มหาวิทยาลัย เป็นต้น  ส่วนที่นอกเหนือจากนี้บรรณาธิการจะเป็นผู้กำาหนดและควบคุมโดยสภาวิชาชีพ

                 ข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยจะจัดทำาแนวทางมาตรฐานจริยธรรม เพื่อแนะนำาให้สมาชิกเขียนข้อบังคับ
                 จริยธรรมเพื่อมิให้ขัดหรือแย้งกับข้อบังคับสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ว่าด้วยจริยธรรม

                 แห่งวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๓  ซึ่งตามพระราชบัญญัติประกอบกิจการโทรคมนาคม
                 พ.ศ. ๒๕๔๔  หรือพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำากับการประกอบกิจการ

                 วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓  กำาหนดไว้ว่า หากองค์กรใด
                 มีมาตรฐานจริยธรรมแล้ว ก็จะได้รับการยกเว้น  จึงทำาให้สื่อมวลชนต้องการเข้าร่วมเป็นสมาชิก

                 ของสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย เพื่อที่จะได้รับการยกเว้นจากพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง
                 ซึ่งสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยจะต้องผลักดันเพื่อให้เกิดการกำาหนดมาตรฐานจริยธรรมของ

                 แต่ละสถานี  ทั้งนี้ องค์กรที่เข้าร่วมเป็นสมาชิก  หากองค์กรใดยังไม่มีการกำาหนดมาตรฐานจริยธรรม
                 ของตนเองก็จะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ว่าด้วยจริยธรรมแห่ง

                 วิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๓









            36

            สิทธิในกระบวนการยุติธรรม และสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง
            กรณีการนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ และการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42