Page 36 - สิทธิในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง กรณีการนำตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
P. 36

ประเด็นที่ ๓  ความเห็นและแนวทางในการหาวิธีการทดแทนการนำาชี้ที่เกิดเหตุ
                    ประกอบคำารับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน  จากประสบการณ์การทำางานที่ผ่านมา

                    ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการในการสรรหาคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และ

                    กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดยได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แถลงข่าว ซึ่งสื่อมวลชนบางราย
                    มีการตั้งคำาถามแล้วทำาให้ผู้ตอบคำาถามรู้สึกขาดเสรีภาพในการตอบและอึดอัด โดยสื่อมวลชนต้องการ
                    ถามคำาถามง่ายๆ และต้องการได้รับคำาตอบง่ายๆ ซึ่งในการตั้งคำาถามต้องถามก่อนว่าเหตุเกิดจากอะไร

                    จึงทำาให้ผลเกิดขึ้น  ทั้งนี้ การรับรู้และการตอบคำาถามต่อสื่อมวลชน ผู้ที่ต้องตอบคำาถามกับสื่อมวลชน

                    จะต้องรับรู้และรับทราบในสิทธิและเสรีภาพตนเองในการตอบคำาถาม ความรับผิดชอบของผู้ตอบคำาถาม
                    ซึ่งผู้ให้ข่าวหรือแหล่งข่าวกับสื่อมวลชนยังคงต้องพึ่งพาอาศัยกัน
                                  ความรู้ด้านกฎหมายสำาหรับสื่อมวลชนเป็นเรื่องที่จำาเป็น  เนื่องจากกฎหมาย คือ

                    วิศวกรของสังคม เป็นตัวกำาหนดทิศทางและกรอบการทำางาน  โดยปัจจุบันสื่อมวลชนไม่ได้รับทราบ

                    ในเรื่องกฎหมายกันมากนัก  โดยแนวทางและวิธีการแก้ไข คือ ความรู้เท่าทันสื่อมวลชน ซึ่งในการ
                    นำาเสนอข้อมูลข่าวสารของสื่อมวลชนจะเป็นการนำาเสนอเพียงบางส่วนเท่านั้น  โดยสื่อมวลชนปฏิเสธ
                    ไม่ได้ว่าจะต้องให้ได้ข่าวและนำาเสนอข่าวก่อนสถานีช่องอื่น รวมทั้งประชาชนก็มีส่วนในการทำาให้

                    สื่อมวลชนเป็นเช่นนี้  เนื่องจากประชาชนชอบที่จะดูภาพข่าวที่มีการใช้ความรุนแรง หรือภาพข่าวที่ทำาให้

                    เกิดความสลดหดหู่ใจ  ซึ่งเป็นการตอกย้ำาทำาให้เกิดความโกรธแค้น ความเกลียดชัง เป็นต้น  โดยใน
                    ต่างประเทศจะไม่มีการนำาเสนอภาพข่าวที่ทำาให้เกิดความสลดหดหู่ใจ  ขณะนี้กำาลังศึกษาในเรื่องของ
                    การเก็บข้อมูลและการนำาเสนอข่าวสารของสื่อมวลชน

                                  สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยพยายามที่จะเผยแพร่ให้ประชาชนได้รับรู้ว่า

                    ประชาชนสามารถที่จะร้องเรียนผ่านสภาวิชาชีพฯ ได้ โดยธรรมนูญสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
                    พ.ศ. ๒๕๕๒ หมวด ๔ การพิจารณาเรื่องร้องเรียน
                                  ข้อ ๑๙  ระบุว่า “ผู้ได้รับความเสียหายจากข้อความ เสียง หรือภาพที่ปรากฏในข่าว

                    หรือรายการข่าว ที่ผลิตโดยสมาชิกหรือจากพฤติกรรมของผู้ประกอบวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์

                    ที่สังกัดสมาชิก ซึ่งผู้เสียหายเห็นว่าขัดต่อข้อบังคับสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยว่าด้วยจริยธรรม
                    แห่งวิชาชีพ ให้แจ้งเป็นหนังสือพร้อมด้วยพยานหลักฐานต่อสถานีหรือผู้ผลิตรายการนั้นโดยตรงเสียก่อน
                    เพื่อให้สถานีหรือรายการนั้นดำาเนินการบรรเทาความเสียหายตามควรแก่กรณี”

                                  ข้อ ๒๐  ระบุว่า “เมื่อผู้เสียหายได้ดำาเนินการตามข้อ ๑๙ แล้วถูกปฏิเสธหรือเพิกเฉย

                    ที่จะดำาเนินการใดๆ จากสถานีหรือผู้ผลิตรายการซึ่งเป็นมูลเหตุให้เกิดความเสียหาย หรือเมื่อผู้เสียหาย
                    เห็นว่าการบรรเทาความเสียหายของสถานีหรือผู้ผลิตรายการตามข้อ ๑๙ ไม่เป็นที่พอใจจนเห็นได้ชัด
                    ผู้เสียหายมีสิทธิร้องเรียนเป็นหนังสือพร้อมด้วยพยานหลักฐานต่อคณะกรรมการได้ภายในสามสิบวัน

                    นับแต่วันได้รับทราบความเสียหายนั้น

                                  การยื่นเรื่องร้องเรียนให้ทำาตามแบบที่คณะกรรมการกำาหนด”
                                  ข้อ ๒๑  ระบุว่า “เรื่องที่คณะกรรมการจะรับไว้พิจารณาดำาเนินการ มีหลักเกณฑ์ ดังนี้




                                                                                                         35

                                                                       สิทธิในกระบวนการยุติธรรม และสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง
                                                      กรณีการนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ และการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41