Page 35 - สิทธิในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง กรณีการนำตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
P. 35

วิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๓  ข้อบังคับสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ว่าด้วยวิธี
                 พิจารณาเรื่องร้องเรียน พ.ศ. ๒๕๕๓  และข้อบังคับสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ว่าด้วยการเป็น

                 สมาชิก พ.ศ. ๒๕๕๓

                               ประเด็นที่ ๑ เหตุผลและความจำาเป็นในการนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุ

                 ประกอบคำารับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ซึ่งเดิมสื่อมวลชนไม่ได้เกิดการแข่งขันใน
                 เรื่องของระดับความนิยมของผู้ชม (เรตติ้ง) ซึ่งการใช้เรตติ้งในการทำาข่าวเป็นตัวกระตุ้นทำาให้เกิดการ

                 แย่งชิงเพื่อให้ได้แหล่งทุน  โดยส่วนตัวไม่เห็นด้วยในการที่สื่อมวลชนนำาตัวผู้ต้องหาหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
                 ในคดีมาปรากฏตัวและสัมภาษณ์ผ่านสื่อต่างๆ  เปรียบเสมือนศาล โดยให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสิน

                 ซึ่งหากเป็นกระบวนการพิจารณาของศาล  การให้ถ้อยคำาใดๆ ต่อศาล จะเป็นการผูกมัดผู้ให้ถ้อยคำา
                 ในทางกฎหมาย  ซึ่งผู้เสียหายหรือผู้ที่ให้ถ้อยคำาต่อผู้ดำาเนินรายการได้รับรู้ถึงสิทธิของเขาหรือไม่

                 เนื่องจากการให้ถ้อยคำาผ่านสื่อมวลชน เป็นการผูกมัดตัวบุคคลนั้นและถือเป็นพยานหลักฐานชิ้นหนึ่ง
                 เช่นกัน  ซึ่งปัจจุบันระบบของกระบวนการยุติธรรมที่เสียหายไปเกิดจากผู้ดำาเนินรายการลักษณะนี้

                 หรือไม่ ซึ่งลักษณะของการดำาเนินรายการข่าวของพิธีกรไม่ได้คำานึงถึงเรื่องของการใช้คำาถาม ซึ่งเป็น
                 การกระทำาที่ทำาให้สิทธิและเสรีภาพประชาชนถูกลิดรอน  ซึ่งสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยจะ

                 ต้องใช้ระยะเวลาในการดำาเนินงาน  โดยสื่อมวลชนเห็นว่า การออกใบอนุญาตให้กับผู้ประกอบวิชาชีพ
                 เป็นการจำากัดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการสื่อสาร ซึ่งสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยต้องมีการ

                 กำากับและควบคุมเพื่อให้สื่อมวลชนมีจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ปฏิบัติ โดยได้มีการศึกษา
                 เรื่องนี้ไว้ระดับหนึ่งแล้ว

                               ในการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนควรมีเฉพาะผู้แถลงข่าวกับของกลาง โดยไม่ต้องนำาตัว
                 ผู้ต้องหามาร่วมแถลงข่าว ซึ่งแหล่งข่าวต้องรู้จักวิธีการนำาเสนอข้อมูล  โดยมีการศึกษาวิจัยและ

                 วิทยานิพนธ์เกี่ยวกับพฤติกรรมเลียนแบบ  ซึ่งในคดีอาญาหลายคดีเมื่อมีคดีเกิดขึ้นแล้วสื่อมวลชน
                 นำาเสนอ ทำาให้เกิดพฤติกรรมซ้ำาๆ โดยในการทำาข่าวในเรื่องสืบสวนสอบสวน  ต้องให้ความรู้กับ

                 สื่อมวลชน  โดยเรื่องที่ท้าทายสื่อมวลชน คือ การทำาข่าวเชิงลึก ซึ่งปัจจุบันไม่ค่อยมีใครอยากทำา
                 โดยจะทำาเป็นบทสัมภาษณ์ (สกู๊ป)  โดยในการทำาข่าวเชิงลึกส่วนหนึ่งมีผลทำาให้หลายๆ เรื่องคลี่คลายได้

                 และเป็นการช่วยสนับสนุนการทำางานของเจ้าหน้าที่ตำารวจ หรือช่วยผดุงความยุติธรรมในบางเรื่อง
                 ซึ่งมีมุมมองในด้านบวกด้วยเหมือนกัน

                               ประเด็นที่ ๒  ผลกระทบจากการนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบ

                 คำารับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ในมิติสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในกระบวนการยุติธรรม
                 ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นกับตัวผู้ต้องหา ครอบครัว และผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น กรณีเด็กนักเรียนอาชีวศึกษา

                 ตีกัน  โดยสื่อมวลชนมีการเชิญอาจารย์กับลูกศิษย์มาอภิปรายกัน (ดีเบต)  แล้วมีการจับผิดว่า ฝ่ายใด
                 ฝ่ายหนึ่งพูดถูกหรือผิด  ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายต่อกระบวนการยุติธรรม  และไม่มีหน่วยงานใดบอกว่า

                 สิ่งที่สื่อมวลชนดำาเนินการเป็นการกระทำาที่ผิดและละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างไรบ้าง





            34

            สิทธิในกระบวนการยุติธรรม และสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง
            กรณีการนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ และการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40