Page 34 - สิทธิในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง กรณีการนำตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
P. 34
ว่ากระทำาผิดจริงและสำานึกในการกระทำา ผู้ต้องหาต้องการหรือยินดีแถลงข่าวต่อสาธารณชนเพื่อให้
รับรู้ว่าการกระทำาของตนนั้นเป็นการทำาลายชาติและเยาวชน ขอให้ผู้ที่คิดจะค้ายาบ้าหรือเสพยาบ้า
เลิกคิด เลิกค้า หรือเลิกเสพยาบ้า
๒) แนวทางการพิจารณาของศาลที่เห็นว่ากรณีเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน
โจทก์เป็นเจ้าคณะอำาเภอฟ้องหาว่า จำาเลยกล่าวคำาหมิ่นประมาทใส่ความ
โจทก์เข้าหานางชีที่ห้องวิปัสสนา เป็นเหตุให้โจทก์เสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นเกลียดชังนั้น จำาเลยขอพิสูจน์
ความจริงได้เพราะการพิสูจน์ความจริงของจำาเลยย่อมเป็นประโยชน์แก่ประชาชน เนื่องจากประชาชน
ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ผู้เป็นพุทธศาสนิกชนย่อมหวงแหนที่จะมิให้ผู้ใดมาทำาลายหรือทำาความ
มัวหมองให้แก่พุทธศาสนาที่ตนนับถือ ยิ่งเมื่อจำาเลยมาพิสูจน์ความจริงให้ประจักษ์ต่อศาลได้ ก็เป็น
ประโยชน์แก่คนทั่วไปที่จะได้ไม่มัวหลงเคารพเลื่อมใสโจทก์ต่อไป (ฎีกาที่ ๑๐๗๓/๒๕๐๗)
ในส่วนของการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ได้มีข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพ
หนังสือพิมพ์ ข้อ ๑๕ ระบุว่า “ในการเสนอข่าวหรือภาพใดๆ หนังสือพิมพ์ต้องคำานึงมิให้ล่วงละเมิด
ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลที่ตกเป็นข่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องให้ความคุ้มครองอย่างเคร่งครัด
ต่อสิทธิมนุษยชนของเด็ก สตรี และผู้ด้อยโอกาส ในการเสนอข่าวตามวรรคแรก ต้องไม่เป็นการซ้ำาเติม
ความทุกข์หรือโศกนาฏกรรมอันเกิดแก่เด็ก สตรี และผู้ด้อยโอกาสนั้นไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง” ซึ่ง
ผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์บางรายยังมีการนำาเสนอภาพข่าวผู้ต้องหา และในกรณีที่ผู้ต้องหา
เข้ามอบตัวที่สถานีตำารวจ โดยเจ้าหน้าที่ตำารวจได้ใส่กุญแจมือผู้ต้องหารายนั้น ซึ่งประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๘๖ บัญญัติว่า “ห้ามมิให้ใช้วิธีการควบคุมผู้ถูกจับเกินกว่าที่จำาเป็น
เพื่อป้องกันมิให้เขาหนีเท่านั้น” จะเห็นได้ว่า ยังคงมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่
๘) การประชุมคณะอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและ
การปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ครั้งที่ ๑๔/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔
ผู้แทนสื่อมวลชน ให้ข้อมูลและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบ
คำารับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน สรุปได้ ดังนี้
สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย เริ่มก่อตั้งได้ประมาณปีเศษ ปัจจุบันมีสมาชิก
ประมาณ ๑๘ องค์กร เช่น สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง ๓ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก บริษัท
อสมท. จำากัด (มหาชน) บริษัท สำานักข่าว ไอเอ็นเอ็น จำากัด บริษัท สำานักข่าว ทีนิวส์ จำากัด บริษัท
สปริงส์ คอร์ปอเรชั่น จำากัด (สปริงนิวส์) วอยส์ทีวี เอ็มทีวี และสถานีวิทยุจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เป็นต้น ส่วนสถานีวิทยุโทรทัศน์ ช่อง ๗ ซึ่งเดิมเคยเข้าเป็นสมาชิกในลักษณะของบริษัทผู้ผลิตข่าว
แต่เนื่องจากได้มีการเปลี่ยนแปลงบริษัทผู้ผลิตข่าว จึงยังไม่ได้มีการส่งตัวแทนเข้ามาร่วมเป็นสมาชิก
ขณะนี้อยู่ระหว่างการติดต่อประสานงาน ซึ่งในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกเป็นระบบสมัครใจ โดยสภาวิชาชีพ
ข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยจะกำากับดูแลเฉพาะสมาชิกเท่านั้น ให้เป็นไปตามธรรมนูญสภาวิชาชีพข่าว
วิทยุและโทรทัศน์ไทย พ.ศ. ๒๕๕๒ ข้อบังคับสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยว่าด้วยจริยธรรมแห่ง
33
สิทธิในกระบวนการยุติธรรม และสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง
กรณีการนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ และการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน