Page 32 - สิทธิในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง กรณีการนำตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
P. 32

๗)  การประชุมคณะอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและ
                    การปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ครั้งที่ ๑๓/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔


                                  ผู้แทนสถ�บันนิติวิทย�ศ�สตร์ ให้ข้อมูลและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการนำาชี้ที่เกิดเหตุ
                    ประกอบคำารับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน สรุปได้ดังนี้

                                  ผู้แทนสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ขอนำาเรียนเฉพาะมุมมองของนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่ง

                    กระบวนการของนิติวิทยาศาสตร์ในเรื่องของสถานที่เกิดเหตุ เป็นการรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อ
                    ประกอบการพิจารณาของศาล  ปัจจุบันได้มีการใช้พยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์เพื่อใช้เป็น

                    หลักฐานในการยืนยันว่า บุคคลนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานที่เกิดเหตุหรือมีการกระทำาต่อผู้เสียหาย
                    ซึ่งในทางนิติวิทยาศาสตร์ไม่มีความจำาเป็นที่จะต้องใช้พยานหลักฐานของคน  หากมีหลักฐานทาง

                    นิติวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันชัดเจนว่าบุคคลนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องในการกระทำาความผิด แต่ผลกระทบที่อาจ
                    เกิดขึ้นจากการที่อาจมีบุคคลเข้าไปในสถานที่เกิดเหตุ โดยสิ่งที่จะทำาให้เกิดความเสียหายค่อนข้างมาก

                    คือ การเข้าไปทำาลายพยานหลักฐานในที่เกิดเหตุ เช่น มีการหยิบ จับ หรือเคลื่อนย้ายสิ่งของ เป็นต้น
                    หากมีบุคคลเข้าไปในที่เกิดเหตุโดยที่ยังรวบรวมพยานหลักฐานไม่ครบ หรือต้องมีการรวบรวมพยาน

                    หลักฐานเพิ่มเติม อาจไม่สามารถรวบรวมพยานหลักฐานเพิ่มเติมจากที่เกิดเหตุนั้นได้
                                  กรณีที่มีการนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ

                    หากไม่เป็นการทำาให้วัตถุพยานในที่เกิดเหตุเสียไปก็ไม่มีผลต่อการรวบรวมพยานหลักฐาน  ในกรณี
                    ที่ไม่มีพยานหลักฐานอื่น ซึ่งต้องใช้พยานบุคคลนำาชี้ที่เกิดเหตุเพื่อนำาไปสู่การแสวงหาพยานหลักฐานอื่น

                    รวมทั้งพยานหลักฐานทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ด้วย
                                  การนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพก็ยังมีความจำาเป็น  ถึงแม้ว่าจะมีวัตถุพยาน

                    ในที่เกิดเหตุหรือมีการตรวจทางนิติวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นการดูรูปการว่ามีความสอดคล้อง  รวมทั้ง
                    เป็นการสังเกตพฤติกรรมในการก่อเหตุ เช่น สภาพจิตใจของผู้ต้องหา  เวลาที่อยู่ในที่เกิดเหตุกับเวลาที่

                    อยู่ภายในห้องสอบปากคำาจะมีความแตกต่างกัน ฯลฯ  และสังเกตปฏิกิริยาตอบสนองต่อบุคคลรอบข้าง
                    แต่อย่างไรก็ตาม วัตถุประสงค์ในการนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพเพื่อเป็นการรวบรวมพยาน

                    หลักฐานประกอบสำานวนในการดำาเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรม  โดยอาจให้ผู้แทนจากหน่วยงาน
                    ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมในการนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ และไม่จำาเป็นที่ต้องเผยแพร่ภาพ

                    โดยตามหลักกฎหมายการนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพยังมีความจำาเป็น  แต่ควรมีการปรับ
                    เปลี่ยนวิธีการ

                                  การแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน  อาจเป็นการกระทบสิทธิได้โดยง่าย เนื่องจากการนำาตัว
                    ผู้ต้องหาไปแถลงข่าว  ทำาให้สังคมตีตราว่าบุคคลนั้นเป็นผู้กระทำาผิด  โดยที่ยังไม่ผ่านกระบวนการ

                    ยุติธรรมที่ตัดสินหรือชี้ชัดว่าบุคคลนั้นเป็นผู้กระทำาผิด  ซึ่งในมุมมองของผู้นำาเสนออาจเห็นว่า การนำา
                    ตัวผู้ต้องหามาแถลงข่าวเพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้กับสังคม ซึ่งวิธีการหรือการให้ความรู้กับสังคม

                    อาจใช้วิธีการอื่นที่ไม่กระทบต่อสิทธิของผู้ต้องหาได้  โดยการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนส่งผลกระทบทั้ง
                    ในทางบวกและในทางลบ คือ ผลกระทบในทางบวกเป็นการให้สังคมรับรู้ว่า มีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นและ



                                                                                                          31

                                                                       สิทธิในกระบวนการยุติธรรม และสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง
                                                      กรณีการนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ และการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37