Page 14 - สิทธิในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง กรณีการนำตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
P. 14

๓)  ที่ผ่านมา สำานักงานตำารวจแห่งชาติได้กำาชับการปฏิบัติและวางมาตรการป้องกัน
                    มิให้ผู้ต้องหาถูกทำาร้ายร่างกายแล้ว โดยกำาชับมิให้ผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องไปในที่นำาชี้  แต่ในบางครั้ง

                    หรือในบางสถานที่ อาจจะมีประชาชนเข้ามาดูเหตุการณ์เป็นจำานวนมากก็จะเลื่อนหรือยกเลิกการ
                    ทำาแผนออกไป หรือถ้าจะต้องทำาก็ได้วางมาตรการโดยการเพิ่มกำาลังเจ้าหน้าที่ตำารวจในการดูแล

                    ความปลอดภัยของผู้ต้องหาอย่างเต็มที่ตลอดมา  และสำานักงานตำารวจแห่งชาติก็ได้ให้ความสำาคัญ
                    ในเรื่องนี้มานานแล้ว ตามหนังสือกองคดี กรมตำารวจ ที่ ๐๕๐๓.๖/๑๖๔๔๒ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๓๙

                    เรื่อง กำาชับและซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการชี้ตัวผู้ต้องหา  การนำาตัวผู้ต้องหาชี้ที่เกิดเหตุประกอบ
                    คำารับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ข้อ ๒.๑  กำาหนดว่า  ในการนำาตัวผู้ต้องหาไปชี้

                    สถานที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพให้ป้องกันมิให้ผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าไปในที่นำาชี้  และให้พึง
                    ระมัดระวังการใช้ถ้อยคำาหรือกิริยาท่าทางที่เห็นว่าเป็นการข่มขู่หรือการปฏิบัติไม่เหมาะสมกับผู้ต้องหา

                    จากหนังสือกำาชับการปฏิบัติดังกล่าว  จะเห็นได้ว่าที่ผ่านมาสำานักงานตำารวจแห่งชาติได้ให้ความสำาคัญ
                    ในเรื่องสิทธิมนุษยชนและเคารพในสิทธิต่างๆ ของผู้ต้องหาเป็นอย่างยิ่ง


                          ๓.๒ คณะอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่

                    ไม่เป็นธรรมได้เชิญผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ และสื่อมวลชน
                    เข้าร่วมประชุม เพื่อให้ข้อมูลและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพและ

                    การแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ในการประชุมคณะอนุกรรมการฯ จำานวน ๘ ครั้ง สรุปได้ ดังนี้

                              ๑)  การประชุมคณะอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและ
                    การปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ครั้งที่ ๕/๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔

                                  ผู้แทนสำ�นักง�นตำ�รวจแห่งช�ติ ได้ชี้แจงข้อเท็จจริงเพิ่มเติมและให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับ

                    การจัดทำาแผนประทุษกรรม สรุปได้ดังนี้
                                  ขอทำาความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของการจัดทำาแผนประทุษกรรม  ดังนี้ การจัดทำา

                    แผนประทุษกรรม ซึ่งเป็นการเก็บรวบรวมวิธีการหรือแบบแผนต่างๆ ในการกระทำาความผิดของคนร้าย
                    โดยมีการจัดทำาสารบบและเก็บไว้ที่งานสืบสวน ไม่ต้องรวมไว้ในสำานวนการสอบสวน  เว้นแต่กรณีที่มี

                    เหตุผลพิเศษ เพื่อประโยชน์ในการสอบสวนคดีนั้น กรณีไม่มีงานสืบสวนให้เก็บไว้ที่งานสอบสวน
                                  ส่วนประเด็นที่คณะอนุกรรมการฯ ประสงค์จะทราบข้อมูลและความเห็นน่าจะเป็น

                    เรื่องการนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ ซึ่งพนักงานสอบสวนมีหน้าที่รวบรวมพยานหลักฐาน
                    ทุกชนิดเท่าที่สามารถจะทำาได้เพื่อประสงค์จะทราบข้อเท็จจริง และพฤติการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับการกระทำา

                    ความผิด เพื่อที่จะรู้ตัวผู้กระทำาความผิดและพิสูจน์ให้เห็นถึงความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา ซึ่งในบางกรณี
                    ผู้ต้องหารับสารภาพด้วยความสมัครใจ และทำาให้พนักงานสอบสวนได้พบพยานหลักฐานเพิ่มเติมใน

                    แต่ละจุด  ในบางครั้ง ผู้ต้องหาอาจจะมิใช่บุคคลที่กระทำาความผิดจริงแต่เพียงต้องการรับสารภาพ
                    เพื่อให้ผู้กระทำาความผิดพ้นจากความผิดนั้นๆ ไป  ดังนั้น จึงมีความจำาเป็นที่จะต้องทำาแผนประกอบ

                    คำารับสารภาพและการนำาชี้ที่เกิดเหตุด้วยความสมัครใจ




                                                                                                          13

                                                                       สิทธิในกระบวนการยุติธรรม และสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง
                                                      กรณีการนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ และการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19