Page 13 - สิทธิในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง กรณีการนำตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
P. 13

ผู้ต้องหาอาจจะเคยกระทำาความผิดมาหลายครั้ง การนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ
                 ก็เป็นการพิสูจน์ถึงลักษณะ วิธี หรือรูปแบบเฉพาะในการกระทำาความผิดของผู้ต้องหาในครั้งก่อนๆ

                 ว่าในแต่ละครั้งนั้นมีลักษณะ วิธี หรือรูปแบบการทำาความผิดเป็นอย่างไร โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ต้องหา
                 ที่เคยกระทำาความผิดด้วยลักษณะ วิธีการ หรือรูปแบบอย่างไรก็มักจะกระทำาความผิดด้วยวิธีการ

                 นั้นเสมอ ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๒๖/๒ จึงกำาหนดให้ศาลรับฟังเป็น
                 พยานหลักฐานลงโทษจำาเลยในคดีได้  การควบคุมตัวหรือนำาตัวผู้ต้องหาไปเพื่อทำาแผนประกอบ

                 คำารับสารภาพหรือแผนประกอบการประทุษกรรม เป็นการดำาเนินการภายใต้หลักเกณฑ์หรือบทบัญญัติ
                 แห่งกฎหมายดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

                           ๒)  ในการแสวงหาพยานหลักฐานของพนักงานสอบสวนนั้นมีการแสวงหาหลายทาง
                 การทำาแผนประกอบคำารับสารภาพ หรือการนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพนั้น ก็เป็นอีก

                 ทางหนึ่ง เพราะมีเหตุผลและความจำาเป็น คือ พนักงานสอบสวนต้องรวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิด
                 เท่าที่สามารถจะทำาได้ เพื่อประสงค์จะทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆ อันเกี่ยวกับความผิด

                 ที่ถูกกล่าวหา  เพื่อจะได้รู้ตัวผู้กระทำาผิดและพิสูจน์ให้เห็นความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา และในบางกรณี
                 ที่ผู้ต้องหาให้การรับสารภาพว่าเป็นผู้กระทำาความผิด แต่ในความเป็นจริง ผู้ต้องหาอาจจะไม่ได้กระทำา

                 ความผิดตามที่รับสารภาพก็ได้ จึงต้องการให้มีการนำาชี้ประกอบคำารับสารภาพ โดยให้ผู้ต้องหาพา
                 ไปดูที่เกิดเหตุว่า อยู่ตรงไหนและกระทำาความผิดอย่างไรบ้าง  ซึ่งถ้าเป็นผู้ต้องหาที่กระทำาความผิด

                 จริงก็จะนำาชี้ประกอบคำารับสารภาพได้อย่างสอดคล้องกับหลักฐานอื่นๆ  แต่ถ้าไม่ใช่ผู้กระทำาผิดแต่
                 ยอมรับสารภาพเพื่อช่วยเหลือหรือปิดบังผู้ต้องหาที่แท้จริง  การนำาชี้หรือแผนประกอบคำารับสารภาพ

                 ก็เป็นการพิสูจน์ว่าผู้ต้องหาได้กระทำาความผิดจริงหรือไม่  และการที่พนักงานสอบสวนได้ทำาแผน
                 หรือนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ  เมื่อถึงชั้นศาลในหลายๆ คดี ศาลรับฟังเป็นพยานหลักฐาน

                 ลงโทษจำาเลยได้ (คำาพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๕๘๑/๒๕๔๘  ๒๐๑๕/๒๕๔๗  ๕๔๓๓/๒๕๔๓  ๑๔๗๘/๒๕๔๒
                 ๒๔๗๒/๒๕๔๑ ๒๗๙/๒๕๔๑ ๖๒๓/๒๕๓๘)  หรือบางคดีที่ผู้ต้องหานำาวัตถุของกลางไปซ่อนไว้อีก

                 ที่หนึ่ง แต่เวลารับสารภาพก็บอกว่าเป็นอีกสถานที่ จึงต้องมีการพิสูจน์คำารับสารภาพว่าเป็นจริงตาม
                 ที่รับสารภาพหรือไม่  และในหลายคดีที่เจ้าพนักงานตำารวจพบพยานหลักฐานอื่นๆ หรือการกระทำา

                 ความผิดอื่นๆ  จากการที่ผู้ต้องหานำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ เพราะการนำาชี้ที่เกิดเหตุ
                 ประกอบคำารับสารภาพจะมีรายละเอียดของการกระทำาความผิดตามลำาดับทุกขั้นตอน เชื่อมโยงและ

                 สอดคล้องกับวัตถุของกลางอื่นๆ มีการถ่ายภาพไว้เป็นขั้นเป็นตอนอย่างต่อเนื่อง เชื่อมโยงถึงการ
                 กระทำาความผิดของผู้ต้องหา  จากเหตุผลและความจำาเป็นตามที่กล่าวมา พนักงานสอบสวนจึงมี

                 ความจำาเป็นที่จะต้องดำาเนินการควบคุมหรือนำาตัวผู้ต้องหาไปทำาแผนประกอบคำารับสารภาพ
                 ณ สถานที่เกิดเหตุเท่านั้น เพื่อจะทราบถึงข้อเท็จจริงอย่างแท้จริงและนำาเสนอพยานหลักฐานต่อศาล

                 ได้อย่างถูกต้องครบถ้วน  และเมื่อศาลได้พิจารณาพยานหลักฐานต่างๆ อย่างครบถ้วนแล้ว ศาลก็ย่อม
                 ที่จะให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายได้อย่างแท้จริง







            12

            สิทธิในกระบวนการยุติธรรม และสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง
            กรณีการนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ และการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18