Page 11 - สิทธิในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง กรณีการนำตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
P. 11
ประเด็นที่ผู้ร้องประสงค์ให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติตรวจสอบ คือ ขอให้มีการ
พิจารณาหยิบยกปัญหาดังกล่าวเพื่อหามาตรการป้องกัน หรือมีการออกกฎหมายต่อไป
๒. ก�รพิจ�รณ�คำ�ร้องเรียน
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจึงเห็นควรพิจารณาคำาร้องและเห็นควรกำาหนดเป็น
ยุทธศาสตร์ โดยได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้านกฎหมายและสิทธิใน
กระบวนการยุติธรรมดำาเนินการตรวจสอบ ต่อมา ได้มีคำาสั่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ที่ ๕/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๕๔ มอบหมายให้คณะอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิด
สิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม และคำาสั่งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ที่ ๕๒/๒๕๕๕ ลงวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๕ มอบหมายให้คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านกฎหมาย
และการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม พิจารณาดำาเนินการต่อไป
ประเด็นการตรวจสอบ
การที่พนักงานสอบสวนหรือเจ้าหน้าที่ตำารวจนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบ
คำารับสารภาพและการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน เป็นการกระทำาหรือการละเลยการกระทำาอันเป็น
การละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๓๕
มาตรา ๓๙ และมาตรา ๔๐ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ ๑๑ และกติการะหว่างประเทศ
ว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ ๑๐ และข้อ ๑๔ หรือไม่ อย่างไร
๓. ก�รดำ�เนินก�รตรวจสอบ
คณะอนุกรรมการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านกฎหมายและการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
ได้ดำาเนินการพิจารณาตรวจสอบ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
๒๕๕๐ มาตรา ๒๕๗ พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และระเบียบ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจสอบการละเมิด
สิทธิมนุษยชน พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยคณะอนุกรรมการฯ ได้รับฟังข้อเท็จจริงจากผู้ร้องและหน่วยงานที่
เกี่ยวข้อง ประกอบกับข้อคิดเห็นจากนักวิชาการ และผู้ทรงคุณวุฒิ รวมทั้งมีการจัดสัมมนาเพื่อรับฟัง
ความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน และเอกสารที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ ดังนี้
๓.๑ สำานักงานตำารวจแห่งชาติ ได้มีหนังสือ ที่ ตช.๐๐๑๑.๒๔/๔๖๑๘ ลงวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๕๓
ชี้แจงว่า
๑) ในการควบคุมตัวหรือนำาตัวผู้ต้องหาไปทำาแผนประกอบคำารับสารภาพหรือแผน
ประกอบการประทุษกรรมนั้นเป็นเรื่องที่ผู้ต้องหายอมรับสารภาพในความผิดที่ถูกกล่าวหาและสมัครใจ
ที่จะนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ ในกรณีนี้พนักงานสอบสวนได้ดำาเนินการไปตามประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๓๑ ที่ให้อำานาจพนักงานสอบสวนในการแสวงหาและ
10
สิทธิในกระบวนการยุติธรรม และสิทธิของบุคคลในเกียรติยศและชื่อเสียง
กรณีการนำาตัวผู้ต้องหาในคดีอาญาไปนำาชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำารับสารภาพ และการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน