Page 82 - มาตรฐานและแนวทางการดำเนินงานของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
P. 82
การขาดความน่าเชื่อถือ (หรือขาดความเป็นจริง) ของหลักฐานรับรองได้รับอิทธิพลจากปัจจัยหลายประการ
ทั้งผู้ร้องเรียนและผู้ถูกร้องเรียนอาจมีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง และท�าให้การรับรู้เหตุการณ์ผิดไป ในท�านองเดียวกัน มิตรภาพ
หรือเครือญาติ อาจส่งผลต่อความซื่อสัตย์ของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย และสร้างอคติที่มีผลต่อการให้ค�ารับรอง อาจมีเรื่องของ
ผลประโยชน์ทางการเงินหรือด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนฝ่ายหนึ่งหรือฝ่ายอื่น ๆ ในท�านองเดียวกัน อาจจะเป็น
เรื่องจริงหรือมีความกลัวที่จะพูดบางสิ่งที่อาจเห็นได้ว่าจะสร้างความเสียหายให้กับผู้มีอ�านาจหรือหน่วยงานที่มีอ�านาจ หรือ
บางครั้งเกิดจากความรู้สึกที่ไม่แยแสกับเหตุการณ์ หรือไม่เห็นความจ�าเป็นที่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้อง การมีปัจจัยเหล่านี้ไม่อาจ
ลบล้างค�าให้การได้ แต่ก็เป็นสิ่งที่ผู้ตรวจสอบควรจะตระหนักถึง
มีหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือ (หรือความถูกต้อง) ของหลักฐาน สภาพทางกายภาพของบุคคล
ในขณะที่เกิดเหตุการณ์นั้นก็มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น บุคคลนั้นใส่แว่นอยู่แล้วหรือไม่ หากใช่ แล้วเขาได้ใส่มันในเวลาที่เกิด
เหตุการณ์หรือไม่ หรือมีสิ่งกีดขวางใด ๆ ในการมองเห็นหรือได้ยินว่าเกิดอะไรขึ้นหรือไม่ หรือมองเห็นชัดเจนหรือไม่ มีระยะห่าง
มากน้อยแค่ไหน บุคคลนั้นที่เมาเหล้าหรือซึมเศร้าหรือไม่ ฯลฯ เป็นต้น โดยปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ต้องได้รับการพิจารณาอย่าง
รอบคอบโดยผู้ตรวจสอบ
การประเมินความน่าเชื่อถือและความเกี่ยวข้องของพยานที่เกี่ยวข้องกับการประเมินค�าให้การของบุคคล และ
ความสัมพันธ์กับหลักฐานและพยานอื่น ๆ ดังที่กล่าวข้างต้น ค�าให้การพยานเป็นสิ่งที่น่าเชื่อถือน้อยกว่าการสังเกตโดยตรง
แต่ถึงแม้ว่าจะมีการสังเกตโดยตรง พยานควรได้รับการตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่ามีความสอดคล้องหรือไม่ เช่น ตรรกะ
และความสอดคล้องตั้งแต่ต้นจนจบ
ผู้ตรวจสอบยังต้องการตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าแหล่งอ้างอิงหรือค�าให้การของคนหนึ่งสอดคล้องกับค�าให้การ
ของผู้อื่นหรือไม่ ผู้ตรวจสอบจะต้องประเมินความสอดคล้องของค�าให้การกับหลักฐานอื่น ๆ รวมทั้งหลักฐานทางกายภาพ
สุดท้าย คือ การพิจารณาแรงจูงใจหรือผลประโยชน์ของบุคคล
การเตรียมรายงานการตรวจสอบ
หาข้อเท็จจริง
มักจะมีการจัดท�ารายงานการสืบสวน ส่วนข้อก�าหนดในรายงานจะแตกต่างกันไปตามแต่ละสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ซึ่งโดยทั่วไปประกอบไปด้วย
การสรุปข้อร้องเรียน ข้อเท็จจริงและหลักฐาน รวมทั้งข้อสรุปหลัก
การระบุของบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน (กฎหมาย เครื่องมือระหว่างประเทศ
การใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ) ที่เป็นปัญหา
รายละเอียดของเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องทางกายภาพ
การวิเคราะห์หลักฐานเพื่อหาความจริงของข้อกล่าวหา
ข้อสรุปที่ชัดเจนโดยการวิเคราะห์หลักฐาน
ข้อแนะน�าที่สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติควรกระท�าเพื่อแก้ปัญหา
81
มาตรฐานและแนวทางการด�าเนินงานของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ