Page 87 - มาตรฐานและแนวทางการดำเนินงานของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
P. 87
การเห็นด้วยกับกฎพื้นฐาน
คู่กรณีทั้งสองฝ่ายควรมีความเข้าใจเป็นอย่างดีเกี่ยวกับลักษณะของกระบวนการที่จะใช้ และระดับชั้นของความลับในการ
อภิปรายและหาข้อตกลง โดยจะต้องตกลงว่าสิ่งที่พูดในกระบวนการนี้จะไม่สามารถน�าไปใช้เพื่อต่อต้านคู่กรณีได้ในภายหลัง
หากกระบวนการประนีประนอมหรือไกล่เกลี่ยไม่ส�าเร็จ และมีการตรวจสอบหาข้อเท็จจริงหลังจากนั้น ความเข้าใจเป็นอย่างดีนี้
จะสนับสนุนให้ทั้งสองฝ่ายสามารถหาข้อตกลงได้อย่างตรงไปตรงมา และสามารถพูดในสิ่งที่ไม่คิดจะพูดในค�าให้การ
การรับฟังมุมมองของทั้งสองฝ่าย
คนกลางหรือผู้ไกล่เกลี่ยอาจต้องการที่จะเริ่มต้นด้วยการรับฟังมุมมองของแต่ละด้าน ซึ่งบางครั้งเรียกว่า “การสลับให้
ทั้งสองฝ่ายได้มีโอกาสไกล่เกลี่ยในมุมของตน” ซึ่งจะมีประโยชน์อย่างยิ่งโดยเฉพาะเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอ�านาจมากกว่ากัน
กระบวนการนี้ยังสนับสนุนการเปิดกว้าง และจะท�าให้เกิดความคิดเกี่ยวกับข้อตกลงได้ดีขึ้น ในระหว่างกระบวนการนี้
คนกลางหรือผู้ไกล่เกลี่ยจะต้องยินดีที่จะรับฟังและควรเป็นกลาง โดยต้องท�าให้มั่นใจได้ว่าทุกฝ่ายเต็มใจที่จะเผชิญหน้ากัน
ก่อนที่จะไปสู่ขั้นตอนต่อไป
การน�าคู่กรณีมาร่วมกันเพื่อหา
ข้อตกลงที่เหมาะสม
การไกล่เกลี่ยและการประนีประนอมควรเกิดขึ้นบนพื้นที่ที่เป็นกลาง (on neutral ground) เมื่อคู่กรณีพบกัน ควรจะอยู่
ในสถานที่ของคณะกรรมการ หรือหน่วยงานกลางอื่น ๆ ซึ่งไม่ท�าให้เกิดข้อได้เปรียบกับคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้
การไกล่เกลี่ย การประนีประนอม
จะเกิดขึ้นก่อนด�าเนินการตรวจสอบ จะเกิดขึ้นในระหว่างหรือหลัง
การละเมิดสิทธิมนุษยชน การตรวจสอบแล้ว
การตรวจสอบ
86
มาตรฐานและแนวทางการด�าเนินงานของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ