Page 85 - มาตรฐานและแนวทางการดำเนินงานของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
P. 85
การระงับข้อพิพาทในรูปแบบอื่น
หลักการปารีสระบุว่า สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่มีอ�านาจกึ่งตุลาการ ควรพยายามหา “ข้อยุติอย่าง
ประนีประนอม” ถึงแม้ว่าจะมีเพียงค�าว่า “การประนีประนอม” แต่ก็เป็นที่เข้าใจได้ว่ามีเทคนิคในการระงับข้อพิพาท
ในรูปแบบอื่น ๆ ที่จะท�าให้เกิดข้อตกลงที่เห็นพ้องร่วมกันได้
การระงับข้อพิพาท
การระงับข้อพิพาท หมายถึง
ชุดของกระบวนการและเทคนิคที่เกิดขึ้นนอกกระบวนการ
กฎหมายที่เป็นทางการ และด�าเนินการขึ้นเพื่อแสวงหา
ผลประโยชน์ร่วมของคู่กรณีและแก้ปัญหาข้อพิพาท
โดยเป็นกระบวนที่ไม่เป็นทางการเพื่อลดความขัดแย้งต่าง ๆ
ให้น้อยลง กระบวนการนี้จะมีประสิทธิภาพหากใช้ตั้งแต่
ระยะแรก ๆ ของการจัดการข้อร้องเรียน เนื่องจากจะเปิดโอกาส
ให้คู่กรณีได้บอกเล่าเรื่องราวในมุมของพวกเขา
และรับผิดชอบตกลงแก้ปัญหาร่วมกัน
บนความแตกต่างของทั้งคู่
สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีรูปแบบการระงับข้อพิพาทที่หลากหลาย ผ่านการประนีประนอม และ/หรือ การไกล่เกลี่ย
โดยหากส�าเร็จการระงับข้อพิพาทจะต้องท�าเป็นเอกสารในข้อตกลงยินยอม ซึ่งโดยส่วนใหญ่บุคคลที่สามที่มีความเป็นกลาง
(เช่น ผู้ไกล่เกลี่ย หรือผู้ด�าเนินการประนีประนอม) จะเป็นผู้ช่วยค้นหาทางแก้ไขที่สามารถยอมรับได้ให้กับคู่กรณี
กระบวนการระงับข้อพิพาทอาจไม่เหมาะสมส�าหรับการร้องเรียนในเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่มีความร้ายแรง หรือ
เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชญากรรม เช่น ความรุนแรงทางเพศ หรือการละเมิดหลักสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
เช่น การทรมาน หรือท�าให้บุคคลหายสาบสูญ ฯลฯ
84
มาตรฐานและแนวทางการด�าเนินงานของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ