Page 86 - มาตรฐานและแนวทางการดำเนินงานของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
P. 86

ในส่วนต่อไปนี้จะเน้นเรื่องการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่นิยมมากขึ้น
                                                   เพื่อจัดการกับข้อร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชน








                         ก. ค�าจ�ากัดความการไกล่เกลี่ยและประนีประนอมข้อพิพาท

                         สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีบทบาทส�าคัญอย่างมากในการไกล่เกลี่ยและประนีประนอม ข้อพิพาทด้าน
                      สิทธิมนุษยชน โดยคนกลางต้องด�าเนินการอย่างเป็นระบบในการช่วยให้คู่กรณีได้บอกเล่าเรื่องของพวกเขาอย่าง

                      เท่าเทียม และน�าไปสู่ความยุติธรรมในการระงับข้อพิพาท
                         การประนีประนอม เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการระงับข้อพิพาทที่สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติใช้โดยผู้ประนีประนอม
                      จะเปิดทางเลือกและให้โอกาสให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายตกลงกัน บ่อยครั้งที่การประนีประนอมมักจะเกิดขึ้นภายหลัง

                      กระบวนการสอบสวน เมื่อผู้ประนีประนอมได้ชี้แจงแก่คู่กรณีถึงข้อได้เปรียบที่แต่ละฝ่ายมี
                         กระบวนการที่อิงผลประโยชน์ของทั้งสองฝ่ายมักจะประสบความส�าเร็จสูงมาก เมื่อมีการไกล่เกลี่ยตั้งแต่เริ่มต้น
                      กระบวนการ โดยจากรายงานพบว่า บางประเทศมีอัตราความส�าเร็จถึงร้อยละ 75 - 80 หากเป็นการไกล่เกลี่ยที่เกิดขึ้น

                      โดยสมัครใจ




                         ส�าหรับคู่กรณีแล้ว กระบวนการไกล่เกลี่ยเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่เผชิญหน้าน้อยกว่า ซึ่งเป็นสิ่งส�าคัญ
                      โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อพิจารณาแล้วว่า การเปลี่ยนแปลงทัศนคติหรือพฤติกรรมของผู้ละเมิดส�าคัญมากกว่าการ

                      ลงโทษ  ทั้งนี้  ความตั้งใจและความพร้อมของทั้งสองฝ่ายในการเข้าร่วม  เป็นเงื่อนไขส�าคัญท�าให้การประนีประนอมและ
                      การไกล่เกลี่ยประสบความส�าเร็จ ทั้งนี้ขึ้นกับ

                             ความปรารถนาของทั้งสองฝ่ายที่จะรักษาสัมพันธ์ที่ดีไว้
                             ความต้องการของทั้งสองฝ่ายที่จะหลีกเลี่ยงการสอบสวน หรือการกระท�าอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                             ความปรารถนาของทั้งสองฝ่ายที่จะแก้ปัญหาความแตกต่างให้เร็วที่สุด





                         ข. กระบวนการการไกล่เกลี่ยและประนีประนอม

                         ไม่มีกระบวนที่เป็นมาตรฐานในการประนีประนอม และ/หรือ การไกล่เกลี่ย อย่างไรก็ดี สถาบันสิทธิมนุษยชน

                      แห่งชาติมักเลือกใช้กระบวนการไกล่เกลี่ยที่หลากหลายในการยุติข้อพิพาท มากกว่ากระบวนการประนีประนอม
                      กระบวนการที่จะแสดงต่อไปนี้เป็นการยกตัวอย่างให้เห็นภาพเท่านั้น โดยไม่ได้บ่งบอกว่าควรมีเพียงหนึ่งวิธีการที่ใช้
                      ในทุกกรณี ความแตกต่างของวิธีการที่จะใช้อาจขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่เผชิญ สถานะของสถาบันฯ ตามแนวทาง ดังนี้












                                                                                                                 85
                                                                       มาตรฐานและแนวทางการด�าเนินงานของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91