Page 8 - รายงานการปฏิบัติตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี
P. 8
4
ติดต่อกับญาติ และได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วเมื่อเจ็บป่วย (มาตรา 7/1)
สิทธิที่จะมีทนายความช่วยเหลือในระหว่างการสอบสวน (มาตรา 8 และมาตรา
134/1) สิทธิที่จะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว (มาตรา 107) และสิทธิที่จะไม่ถูก
บังคับให้รับสารภาพ (มาตรา 135) ส่วนมาตรา 226/1 ของประมวลกฎหมายวิธี
พิจารณาความอาญา เป็นบทบัญญัติที่รองรับพันธกรณีตามข้อ 15 ของอนุสัญญาฯ
ที่ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบ เว้นแต่การรับฟัง
พยานหลักฐานนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการอ านวยความยุติธรรม
7. ที่ผ่านมา ได้มีความพยายามปรับแก้กฎหมายภายในเพื่อรองรับการ
ด าเนินการตามอนุสัญญาฯ ซึ่งมี 2 แนวทาง แนวทางแรกเป็นแนวทางที่เสนอ
โดยองค์กรภาคประชาสังคมบางองค์กรที่เห็นว่า การปรับปรุงกฎหมายควรใช้
วิธีการออกเป็นกฎหมายเฉพาะเพื่อให้สามารถบัญญัติข้อก าหนดต่างๆ ที่ระบุใน
อนุสัญญาฯ ไว้ในกฎหมายได้อย่างครบถ้วน รวมทั้งให้มีการจัดตั้งกลไกเพื่อท า
หน้าที่สืบสวนสอบสวนคดีทรมานขึ้นใหม่แทนเจ้าหน้าที่ต ารวจเพื่อประกันความ
เป็นอิสระในการสืบสวนสอบสวน ส่วนอีกแนวทางหนึ่งเป็นแนวทางที่ด าเนินการ
โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งเห็นว่า ประมวลกฎหมายอาญาและประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่มีอยู่สามารถรองรับบทบัญญัติของอนุสัญญา
ฯ ได้ในระดับหนึ่งแล้ว จึงอาจเพียงปรับแก้กฎหมายที่มีอยู่เพิ่มเติมให้ครบถ้วน
ในเรื่องนี้ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ได้ร่วมกับ
คณะกรรมาธิการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร
จัดท าร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาและประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเพื่อก าหนดให้การทรมานตามนิยามของ
อนุสัญญาฯ เป็นฐานความผิดเฉพาะและก าหนดบทลงโทษที่เหมาะสมกับความ
ร้ายแรงของการกระท าความผิดดังกล่าว รวมทั้งเพื่อให้ผู้ถูกกระท าทรมาน