Page 11 - รายงานการปฏิบัติตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี
P. 11
7
11. ข้อเสนอแนะ รัฐบาลควรให้ความส าคัญกับการแก้ไขกฎหมายต่อต้านการ
ทรมานอย่างจริงจัง โดยรัฐบาลควรก าหนดกรอบระยะเวลาด าเนินการในเรื่อง
การปรับปรุงกฎหมายให้ชัดเจนและติดตามให้มีการแก้ไขกฎหมายให้เป็นไป
ตามกรอบเวลาที่ก าหนดเพื่อให้อนุสัญญาฯ มีผลใช้บังคับในทางปฏิบัติอย่าง
แท้จริง
ข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการทรมานในจังหวัดชายแดนภาคใต้
12. ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในปี 2547 จนถึง
ปัจจุบัน กสม. ได้รับข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการกระท าทรมานของเจ้าหน้าที่รัฐที่
เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้จ านวน 102 ค าร้อง กสม. ได้ท าการ
ตรวจสอบข้อร้องเรียนเสร็จสิ้นรวม 71 ค าร้องโดยในกาตรวจสอบ กสม. ได้รับ
ฟังข้อมูลจากทั้งญาติผู้เสียหายและองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน การชี้แจงของ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการตรวจเยี่ยมสถานที่ควบคุมตัวบุคคลด้วย ผล
จากการตรวจสอบเรื่องร้องเรียนมี ข้อค้นพบดังนี้
1
1) มีการใช้การทรมานโดยการซ้อมท าร้ายร่างกายและการขู่เข็ญให้กลัวอย่าง
แพร่หลาย โดยเจ้าหน้าที่รัฐหรือโดยการรู้เห็นเป็นใจของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยอ้างว่า
เป็นปฏิบัติการเพื่อ “ขยายผล” ที่มีวัตถุประสงค์พิเศษเพื่อหาข่าว ข้อมูล
สารสนเทศเกี่ยวกับการก่อความไม่สงบ หรือเพื่อเป็นการลงโทษผู้ต้องสงสัยโดย
พลการ เนื่องจากเจ้าหน้าที่เชื่อว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นผู้กระท าความผิดต่อความ
มั่นคงของรัฐจริง ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการทรมานมักเป็นผู้ต้องสงสัยที่เป็นชาวไทย
มุสลิมเชื้อสายมลายู โดยพบว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงบางคนมีทัศนคติเชิงลบ
1 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, สิทธิในกระบวนการยุติธรรมในกรณีการตรวจสอบค าร้องที่กล่าวหาว่ามีการกระท าทรมานในจังหวัด
ชายแดนภาคใต้, 2554, หน้า 38-45.