Page 5 - รายงานการปฏิบัติตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี
P. 5

รายงานของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเกี่ยวกับ



                   การปฏิบัติตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน และการประติบัติ


                     หรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่่ายีศักดิ์ศรี




                                                ******************



               กฎหมายภายในของประเทศไทยที่รองรับบทบัญญัติของอนุสัญญาต่อต้านการ

               ทรมานฯ



               1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 รับรองสิทธิของ


               บุคคลที่จะไม่ถูกกระท าทรมาน โดยมาตรา 32 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญฯ


               ได้บัญญัติไว้ว่า การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้

               มนุษยธรรม จะกระท ามิได้ แต่การลงโทษตามค าพิพากษาของศาลหรือตามที่


               กฎหมายบัญญัติไม่ถือว่าเป็นการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม



               2. ประมวลกฎหมายอาญาของไทยที่ใช้บังคับในปัจจุบันไม่มีบทบัญญัติให้การ


               ทรมานตามนิยามในข้อ 1 ของอนุสัญญาฯ เป็นฐานความผิดเฉพาะ แต่มี

               บทบัญญัติเกี่ยวกับฐานความผิดอื่นที่อาจน ามาใช้เพื่อรองรับการปฏิบัติตาม


               อนุสัญญาฯ ได้ เช่น ความผิดฐานท าร้ายผู้อื่นที่ท าให้ผู้นั้นได้รับอันตรายทางกาย

               หรือใจ (มาตรา 289, 295-298)  การบังคับขืนใจผู้อื่นโดยการท าร้าย (มาตรา


               309) และการกักขังหน่วงเหนี่ยวและการลักพาตัวเพื่อเรียกค่าไถ่ (มาตรา 310


               และ 312-313) เป็นต้น (รายละเอียดตามเอกสารผนวก) อย่างไรก็ดี ประมวล

               กฎหมายอาญาไม่ได้ระบุเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการกระท าผิดดังกล่าวตาม


               นิยามของการทรมานตามข้อ 1 ของอนุสัญญาฯ ที่ระบุว่า การทรมานตาม

               อนุสัญญาฯ จะต้องเป็นการกระท าที่มีความมุ่งประสงค์ 3 ประการ กล่าวคือ (1)


               เป็นการกระท าเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลหรือค ารับสารภาพของผู้ถูกทรมานหรือบุคคล
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10