Page 7 - รายงานการปฏิบัติตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี
P. 7
3
ชอบด้วยกฎหมาย ก็ต้องรับผิดในการกระท านั้น รวมไปถึงบุคคลอื่นที่กระท า
ทรมานตามค าสั่งของเจ้าหน้าที่รัฐ หากกระท าไปโดยรู้ว่าเป็นค าสั่งที่มิชอบด้วย
กฎหมาย ก็ต้องรับผิดด้วยเช่นกันตามมาตรา 70 นี้
5. กฎหมายภายในที่รองรับบทบัญญัติของอนุสัญญาฯ ในข้อ 4.1 และ 4.2 ได้แก่
ประมวลกฎหมายอาญาซึ่งมีบทบัญญัติให้ผู้ที่พยายามกระท าความผิดและผู้ที่
สนับสนุนการกระท าความผิดต้องได้รับโทษ โดยมาตรา 80 วรรค 2 ก าหนดว่าผู้ที่
พยายามกระท าความผิด ต้องระวางโทษสองในสามส่วนของโทษที่กฎหมาย
ก าหนดไว้ส าหรับความผิดนั้น และมาตรา 83 และ 84 ก าหนดว่า ผู้ที่ร่วมกระท า
ความผิดและผู้ที่ใช้หรือยุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นกระท าความผิด ถือว่าผู้นั้นเป็น
ผู้กระท าความผิดและต้องรับโทษตามที่กฎหมายก าหนดไว้ส าหรับความผิดนั้น
ส าหรับผู้ที่มีส่วนช่วยเหลือหรือสนับสนุนการกระท าความผิด มาตรา 86 ของ
ประมวลกฎหมายอาญาก าหนดให้ผู้นั้นต้องรับโทษสองในสามส่วนของโทษที่
ก าหนดไว้ส าหรับความผิดที่สนับสนุนนั้น
6. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของไทยมีบทบัญญัติที่ป้องกันบุคคล
จากถูกกระท าทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐในขั้นตอนของการตรวจค้น จับกุม และคุม
ขังตามข้อ 2.1 ของอนุสัญญาฯ โดยการก าหนดให้การตรวจค้นและจับกุมต้องมี
หมายศาล (มาตรา 57 และ 78) การก าหนดให้เจ้าหน้าที่ต้องน าตัวผู้ถูกจับกุมไป
ยังที่ท าการของพนักงานสอบสวนโดยทันที การรับรองสิทธิของผู้ถูกจับกุมในการ
ติดต่อกับญาติหรือผู้ซึ่งผู้ถูกจับไว้วางใจ (มาตรา 83-84) การห้ามควบคุมตัวผู้ถูก
จับนานเกินกว่าที่จ าเป็น และการน าตัวผู้ถูกจับกุมไปศาลภายใน 48 ชั่วโมงเพื่อ
ขอขยายเวลาการควบคุมตัว (มาตรา 87) สิทธิของผู้ถูกจับกุมในการขอให้ศาลไต่
สวนการคุมขังโดยมิชอบ (มาตรา 90) สิทธิของผู้ถูกจับกุมที่จะให้ทนายความหรือ
ผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากค าตนได้ในชั้นสอบสวน ได้รับการเยี่ยมหรือ